• น้ำฝน คูเจริญไพศาล
    : รองศาสตราจารย์ ดร. ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • พลอยไพลิน นาโพธิ์ตอง
    : นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 หลักสูตร กศ.บ. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สิริรัตน์ ภูจ่าพล
    : นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 หลักสูตร กศ.บ. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • เบญญาดา สุทธิบุตร
    : นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 หลักสูตร กศ.บ. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
FULL TEXT

Abstract

The purposes of this study were to develop the science laboratory handbook for 5th-grade students. Moreover, the student was done to assess the quality of the handbook by experts to compare students’ learning achievement about science laboratory equipment both before and after learning with the science laboratory handbook. Furthermore, to study the students’ satisfaction toward the science laboratory handbook. The sample group of this study was one classroom of 5th-grade students, consisting of 39 students, in Duangkamol School, Pathumthani province. The research tools consisted of: 1) the science laboratory handbook, 2) the learning achievement test in the science laboratory and 3) the students’ satisfaction questionnaire toward the science laboratory handbook. The research design of One Group Pretest-Posttest Design was used in this study. The result indicated that: 1) the quality of the science laboratory handbook assessed by the experts were at a level of very good (= 4.56, S.D. = 0.53) 2) the mean scores of learning achievement of posttest were higher than those of pre-test at the statistically significant 0.05 level. 3) the students’ satisfaction toward the science laboratory handbook was at a very good level of satisfaction. (= 4.58, S.D. = 0.64).


Keyword

learning achievement, science laboratory, using science equipment

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างคู่มือการใช้อุปกรณ์การทดลองทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้คู่มือการใช้อุปกรณ์การทดลองทางวิทยาศาสตร์ฯ และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อคู่มือการใช้อุปกรณ์การทดลองทางวิทยาศาสตร์ฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนดวงกมล จังหวัดปทุมธานี จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) คู่มือการใช้อุปกรณ์การทดลองทางวิทยาศาสตร์ฯ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการใช้อุปกรณ์การทดลองทางวิทยาศาสตร์ฯ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อคู่มือการใช้อุปกรณ์การทดลองทางวิทยาศาสตร์ฯ การวิจัยนี้ใช้แบบแผนการวิจัยกลุ่มเดียวที่มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (One Group Pretest-Posttest Design) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ผลการประเมินคุณภาพคู่มือการใช้อุปกรณ์การทดลองทางวิทยาศาสตร์ฯ โดยผู้เชี่ยวชาญ มีคุณภาพในระดับมากที่สุด (= 4.56, S.D. = 0.53) 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจากการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อคู่มือฯ อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (= 4.58, S.D. = 0.64)


คำสำคัญ

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การใช้อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ การทดลองทางวิทยาศาสตร์