• วรนุช แหยมแสง
    : รองศาสตราจารย์ ดร. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
FULL TEXT

Abstract

The main objective of this study was to survey the Self-Directed Learning Readiness (SDLR) levels exhibited by Ramkhamhaeng University students studying in seven faculties, namely, Faculty of Laws, Faculty of Business Administration, Faculty of Humanities, Faculty of Education, Faculty of Science, Faculty of Political Science and Faculty of Economics. It also aimed to compare: the students’ SDLR mean with the criterion mean of 4.00 (from the full score of 5.00) and the students’ SDLR as distinguished by gender, admission year (or ID Code), having or not having a part-time job during a study, GPA and faculty. The population of this study was students studying in the seven faculties and being admitted in B.E. 2553 (ID Code 2553) and in B.E. 2554 (ID Code 54). Using ratio sampling, students from each faculty and each year were selected. The sample size for each year was 1,570 and the total sample size was 3,140 students. Returned and completed questionnaires were 3,060 or 97.45 percent. The instrument of this study was the measurement of Self-Directed Learning Readiness (SDLR). In which was developed by the researcher, from the earlier research. The item analysis showed that the discriminant of an item has value during 0.276 to 0.688. The Reliability of the instrument was 0.962. The analysis of data was used the inferential statistics, there were one sample test, t-independent sample-t and analysis of variance (ANOVA). Findings of the research were as follows : (1) Students’ SDLR mean was compared to the criterion mean of 4.00, they were statistically significantly less than the criterion of mean. However, when they were analyzed separately according to each factor, students’ SDLR mean in all faculties were statistically significantly higher than or equal to the criterion mean of 4.00 in two factors-SD and LE. When being analyzed by the factor, every faculty showed that means of these two factors were statistically significantly higher than or equal to the criterion mean. (2) When male and female students’ SDLR were compared, even though the overall means were not different, analyses of the individual factors revealed that females had a statistically significantly higher SD than males, whereas males were higher in the following factors: DK KS OK. (3) ID Code 53 and ID Code 54 students’ SDLR means were not found to be statistically significantly different. However, when they were compared by the factor, ID Code 54 students’ SDLR mean was significantly higher than ID Code 53’s in only one factor, namely, PL. When SDLR were compared by faculty, the overall and individual SDLR means of ID Code 53 and ID Code 54 students in all faculties were not found to be different, except for ID Code 53 Science students who had a higher mean in WF than ID Code 54 students. (4) Overall SDLR means between students having and having no part-time job in all faculties were not different. Even when they were compared to faculty, they still showed no difference. (5) Students with different levels of GPA (high, medium and low) were statistically significantly different in overall SDLR mean, and in all factors. Students with high GPA had a higher overall and individual SDLR means than those with lower GPA. (6) When students’ SDLR in four faculty groups-Law, Political Science, Social Science, and Science, and Business Administration-were compared, they were found to be statistically significantly different at the 0.05 level. Since the comparison among the four faculty groups did not reveal sufficient specific details, another comparison of SDLR among the seven faculties were made. It was founded that they were statistically significantly different, with the Faculty of Education students showing the highest SDLR mean. The posthoc tests conducted revealed that. The Faculty of Education students had a statistically significantly higher overall SDLR mean than students from the Faculties of Political Science, Humanities and Business Administration.


Keyword

SDL, SDLR, self-directed learning, self-directed learning readiness student of Ramkhamhaeng Universi

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง (SDLR) ของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 7 คณะคือ นิติศาสตร์ บริหารธุรกิจ มนุษยศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ รัฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์เฉลี่ย 4.00 จากคะแนนเต็ม 5.00 เปรียบเทียบ SDLR ในระหว่างกลุ่มนักศึกษาที่มีเพศ รหัสต่างกัน การทำงานระหว่างเรียน เกรดเฉลี่ยสะสมต่างกัน และเรียนในคณะต่างกัน การวิจัยในครั้งนี้ ศึกษาเฉพาะนักศึกษาที่มีรหัสขึ้นต้นด้วย 53 และ 54 ที่เรียนในคณะดังกล่าว 7 คณะ ซึ่งสุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนของแต่ละคณะและชั้นปีได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างชั้นปีละ 1,570 คน รวมเป็น 3,140 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบวัดความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากงานวิจัยครั้งก่อน มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.276 ถึง 0.688 และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.952 การเก็บข้อมูลในครั้งนี้ได้แบบสอบถามกลับคืนและสมบูรณ์จำนวน 3,060 คน คิดเป็นข้อมูลกลับคืนร้อยละ 97.45 การวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ได้แก่ สถิติทดสอบนัยสำคัญ t-one sample test, t-independent sample t และ F-test ผลการวิจัยสรุปได้ว่า (1) นักศึกษาทั้ง 7 คณะ มีค่าเฉลี่ย SDLR 3.819 เมื่อเทียบกับเกณฑ์เฉลี่ย 4.00 แล้ว ต่ำกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เมื่อวิเคราะห์แยกเป็นรายด้าน พบว่านักศึกษารวมทั้ง 7 คณะ มีด้านมีปณิธานตนเองและด้านรักการเรียนรู้ตลอดชีวิตสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อแยกวิเคราะห์ตามคณะ ก็พบว่า ทุกคณะมีค่าเฉลี่ยใน 2 ด้านนี้สูงกว่าเกณฑ์หรือเท่ากับเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (2) เมื่อเปรียบเทียบ SDLR ระหว่างเพศชายกับเพศหญิง แม้ว่าโดยภาพรวมจะไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อวิเคราะห์เป็นรายด้านแล้ว พบว่านักศึกษาเพศหญิงมีปณิธานตนเองสูงกว่าเพศชาย แต่ด้านใฝ่การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ด้านมีทักษะในการแสวงหาความรู้ และด้านเป็นคนช่างสังเกต นักศึกษาชายจะมีค่าเฉลี่ยสูงกว่านักศึกษาหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (3) เมื่อเปรียบเทียบ SDLR โดยภาพรวมระหว่างนักศึกษารหัส 53 และนักศึกษารหัส 54 พบว่า ไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อวิเคราะห์ SDLR แยกรายด้าน พบว่ามีเพียงด้านเดียวคือ ด้านวางแผนการเรียนนักศึกษารหัส 54 จะสูงกว่านักศึกษารหัส 53 และแยกศึกษาตามคณะก็พบว่า SDLR โดยภาพรวมและรายด้านของนักศึกษาระหว่างรหัส 53 และรหัส 54 ของทุกคณะไม่แตกต่างกัน ยกเว้นคณะวิทยาศาสตร์นักศึกษารหัส 53 มีค่าเฉลี่ยด้านตั้งใจเรียนเต็มเวลามากกว่านักศึกษารหัส 54 (4) เมื่อเปรียบเทียบ SDLR ระหว่างนักศึกษาที่ทำงานระหว่างเรียนและไม่ทำงานระหว่างเรียน พบว่าค่าเฉลี่ย SDLR โดยภาพรวมของนักศึกษารวมทั้ง 7 คณะที่ทำงานระหว่างเรียนและไม่ทำงานระหว่างเรียนไม่แตกต่างกัน แม้ว่าจะศึกษาแยกรายคณะก็พบนักศึกษาทุกคณะทั้งที่ทำงานระหว่างเรียนกับไม่ทำงานระหว่างเรียนก็มีค่าเฉลี่ย SDLR ไม่มีความแตกต่างกัน และเมื่อแยกวิเคราะห์ SDLR เป็นรายด้าน พบว่า ในรายด้านส่วนมากนักศึกษาที่ไม่ทำงานระหว่างเรียนมีค่าเฉลี่ยSDLR ในด้านนั้นสูงกว่านักศึกษาที่ทำงานระหว่างเรียน (5) เมื่อเปรียบเทียบ SDLR โดยภาพรวมและรายด้านระหว่างกลุ่มนักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ย (GPA) แตกต่างกัน (สูง, ปานกลาง, ต่ำ) พบว่า มีค่าเฉลี่ยของ SDLR แตกต่างกันทั้งโดยภาพรวมและรายด้านทุกด้าน โดยกลุ่มนักศึกษา GPA สูงกว่าจะค่ามี SDLR โดยรวมและรายด้านสูงกว่าลุ่มนักศึกษา GPA ต่ำกว่า (6) เมื่อเปรียบเทียบ SDLR ระหว่างนักศึกษาต่างกัน 4 กลุ่มคณะ คือ 1) กลุ่มคณะนิติศาสตร์ 2) กลุ่มคณะรัฐศาสตร์ 3) กลุ่มคณะสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และ 4) กลุ่มคณะด้านธุรกิจและการเงิน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่เนื่องจากการเปรียบเทียบกลุ่มคณะ 4 กลุ่ม ให้ความชัดเจนได้ไม่พอ จึงมีการเปรียบเทียบ SDLR ของนักศึกษาระหว่างคณะ 7 คณะ ซึ่งก็พบว่า SDLR ของนักศึกษาที่สังกัดคณะต่างกัน 7 คณะมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญเช่นเดียวกัน โดยนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์มีค่าเฉลี่ย SDLR สูงที่สุด โดยคณะศึกษาศาสตร์จะมีนักศึกษาที่มี SDLR โดยภาพรวมสูงกว่านักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และคณะบริหารธุรกิจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


คำสำคัญ

ความพร้อมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง