• ธัญลักษณ์ จิโรภาส
    : นักศึกษาปริญญาโท สาขาพัฒนาแรงงานและสวัสดิการ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
FULL TEXT

Abstract

The purposes of this research are to study the working environment of overseas housekeepers in Thailand, to discover their reasons for taking the job (i.e., the value of the job) and to study their use of the social security system by collecting information from 10 overseas housekeepers, from observation and from semi-structured or guided interviews. The data were analyzed by summarizing the separate issues in the same format as stated in the objectives. There were several reasons for selecting a housekeeping job. Fifty percent of the women chose this job because they thought they could gain better income than in the previous job; 70 percent of them got this job through the advice and persuasion of friends who were still working in Thailand; 50 percent of the employees stayed with their employers, while the other 50 percent traveled between their residence and the employer’s place. Regarding the holidays given by employers, it was found that 90 percent were given a day off per week, though not consistently, and 100 percent could ask for leave to travel back to their hometown. Besides the salary, the study found that those who lived with their employers usually gained more social security benefits. The study also found that 80 percent of them did not know the social security benefits they were entitled to, and 80 percent had never used their social security.


Keyword

valuable job, housekeeper, overseas employees, social security

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการทำงานของแรงงานต่างสัญชาติที่เป็นแม่บ้านตามแนวคิดงานที่มีคุณค่า และศึกษาประสบการณ์การใช้สิทธิประกันสังคมของแรงงานต่างสัญชาติที่เป็นแม่บ้าน โดยเก็บข้อมูลจากแรงงานต่างสัญชาติที่เป็นแม่บ้านถูกกฎหมายจำนวน 10 คน ใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูลคือการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างหรือแบบชี้นำ และนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์โดยการสรุปข้อมูลทีละบุคคล โดยแยกแต่ละประเด็นในรูปแบบเดียวกันตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุในการเลือกประกอบอาชีพแม่บ้าน ร้อยละ 50 เลือกประกอบอาชีพแม่บ้านในประเทศไทย เนื่องจากเห็นว่ารายได้ดีกว่าเดิมจากงานที่ทำอยู่ ร้อยละ 70 ใช้วิธีการหางานโดยการแนะนำและชักชวนของเพื่อนที่เคยเข้ามาทำงานในประเทศไทยอยู่แล้ว ร้อยละ 70 มีวิธีการเข้ามาทำงานในประเทศไทย โดยเพื่อนที่เคยทำงานในประเทศไทยเป็นผู้มารับไปทำงาน ร้อยละ 50 มีสภาพการทำงานโดยการพักอาศัยอยู่ที่บ้านนายจ้าง อีกร้อยละ 50 เดินทางไปกลับระหว่างที่พักของตนกับนายจ้าง ทั้งนี้การพักและวันหยุดที่นายจ้างมอบให้พบว่า ร้อยละ 90 มีเวลาหยุดพักไม่แน่นอน แต่มีวันหยุด 1 วันในสัปดาห์ และร้อยละ 100 สามารถลากลับบ้านได้ สำหรับสิ่งที่นายจ้างมอบให้นอกเหนือจากเงินเดือน พบว่าผู้ให้ข้อมูล พักกับนายจ้างจะได้รับมากกว่า ในด้านเกี่ยวกับสิทธิประกัน สังคม พบว่าผู้ให้ข้อมูล ร้อยละ 80 ไม่รู้จักสิทธิประโยชน์ประกันสังคม และร้อยละ 80 ไม่เคยใช้สิทธิประกันสังคม


คำสำคัญ

งานที่มีคุณค่า แม่บ้าน แรงงานต่างสัญชาติ ประกันสังคม