• ธงชัย สมบูรณ์
    : รองศาสตราจารย์ ดร. ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • มาลินี บุญยรัตพันธุ์
    : รองศาสตราจารย์ ดร. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • อรนุช ลิมตศิริ
    : รองศาสตราจารย์ ดร. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
FULL TEXT

Abstract

The main objective of this research was to explore the most significant elements of the new teaching paradigm called “Super Teaching,” including learning environment, teachers and learning resources. The research methodology was based on the paradigm of qualitative research, using the Ethnographic Future Research (EFR) technique, which involved the interviewing of 17 educational experts. Synthesis and crystallization for data completeness were carried out by the researchers, and the results were descriptively reported. The findings comprise three major elements: (1) The environmental perspective in this research was divided into two aspects: inside and outside the classroom. Most experts emphasized a positive learning climate with strong support and high respect from instructors, as well as providing a challenging opportunity for self-directed study for learning success. Also, in the physical environment, lighting and appropriate seating were prominent factors that promoted learning contentment. As for the outside environment, most experts strongly pointed out that learners’ family and peers could influence the satisfaction with learning. Moreover, the green surroundings and trees outside the classroom were an indirect factor, too. (2) Regarding the teacher element, the consensus of the experts was that students needed differentiated instructions with various techniques and methods, together with suitable pedagogical methods. The instructors’ personality and characteristics could enhance learners’ interest, as well. The experts agreed that team teaching and teachers’ constant accumulation of new knowledge would result in leaners’ happiness with learning. (3) With regard to the learning resources, most of the experts pointed out that the selection of varied and appropriate media was useful for learners’ satisfaction with learning. In addition, learning outside the classroom would be another teaching method that would translate into learners’ achievement and happiness.


Keyword

teaching model

บทคัดย่อ

จุดมุ่งหมายของการวิจัยในครั้งนี้ เพื่อที่จะนำเสนอรูปแบบการสอนแบบ “Super Teaching” ซึ่งถือว่าเป็นฐานคติใหม่ที่มีความสำคัญต่อการเรียนการสอน ซึ่งประกอบด้วยด้านสิ่งแวดล้อม ด้านครูผู้สอน และด้านแหล่งเรียนรู้ วิธีวิทยาของงานวิจัยอ้างอิงฐานคติการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้เทคนิค EFR (Ethnographic Future Research) ในการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา 17 คน กระบวนการสังเคราะห์และการตกผลึกข้อมูลถึงความสมบูรณ์ของข้อมูลถูกนำมาเรียบเรียงในลักษณะพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านสิ่งแวดล้อม แบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ สิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียน ผู้เชี่ยวชาญส่วนมากให้ความเห็นว่า สิ่งแวดล้อมภายในห้องประกอบด้วย บรรยากาศการเรียนในเชิงบวกที่ผู้เรียนได้รับการสนับสนุนและความไว้วางใจจากครูผู้สอน ตลอดจนบรรยากาศที่ท้าทายให้ผู้เรียนแสวงหาคำตอบด้วยตนเอง นอกจากนี้สิ่งแวดล้อมทางกายภาพทางด้านแสงสว่างและการจัดที่นั่งก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดความสุขในการเรียน ส่วนสิ่งแวดล้อมภายนอกที่ผู้เชี่ยวชาญส่วนมากชี้ประเด็นถึงครอบครัวและเพื่อนของผู้เรียนว่ามีอิทธิพลต่อความสุขของผู้เรียน ยิ่งไปกว่านั้นบรรยากาศภายนอกที่มีความร่มรื่นของต้นไม้จะส่งผลต่อการเรียนด้วย 2) ด้านครูผู้สอน : การบูรณาการวิธีการสอน และเทคนิคการสอน รวมทั้งศาสตร์การเรียนรู้ที่หลากหลาย ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เห็นว่าจะส่งผลต่อการเรียนได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ บุคลิกภาพและคุณลักษณะที่ดีของครู จะสร้างความประทับใจให้กับผู้เรียน อนึ่งผู้เชี่ยวชาญได้ให้ความคิดเห็นว่า การเพิ่มพูนความรู้อย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนการสอนเป็นทีมจะส่งผลทำให้ผู้เรียนมีความสุขได้เช่นกัน 3) ด้านแหล่งการเรียนรู้ ผู้เชี่ยวชาญส่วนมากชี้ประเด็นให้เห็นความสำคัญของการเลือกสื่อที่เหมาะสมและหลากหลาย จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุข ส่วนการเรียนรู้จากภายนอกห้องเรียน จะเป็นเส้นทางการเรียนรู้อีกวิธีการหนึ่งที่ทำให้เกิดสัมฤทธิผลและมีความสุขในการเรียน


คำสำคัญ

รูปแบบการสอน