• กิจจา ฉลาดพจนพร
    : อาจารย์ ภาควิชาการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
FULL TEXT

Abstract

In this research, the researcher examined the media exposure and levels of knowledge concerning the ASEAN Community shown by selected Ramkhamhaeng University (RU) undergraduates. The researcher also studied the relationships between their demographic characteristics and media exposure to the ASEAN Community, their levels of ASEAN Community knowledge, and their media exposure to and knowledge of the ASEAN Community. The research instrument was a questionnaire used to collect data concerning the opinions of 420 RU undergraduates. The method of stratified random sampling was used to select the members of the sample population. Using techniques of descriptive statistics, the data collected were analyzed using frequency distribution, percentage, mean and standard deviation. Other statistical techniques used were chi-square (χ2), coefficient correlation, independent sample t-test and one-way analysis of variance (ANOVA). The findings are as follows: (1) The members of the sample population had media exposure to ASEAN via television, online social networks, websites and newspapers at a high level. Most of them had exposure to ASEAN Community media on the average of one to two times per month. They spent less than fifteen minutes for each exposure and were exposed to the ASEAN Community from 12.01 to 18.00 hr. (2) The levels of knowledge about ASEAN were found to be at a low level. (3) Different genders exhibited differences in the exposure through television, billboards, books, and magazines or journals. Relationships between gender and the frequency and time of media exposure were also found. The students who differed in age evinced parallel differences in exposure through billboards, books, verbal media using interviews, exhibitions and special activities media. Differences in age were related to the time at which the students had the media exposure. The students under 24 years of age exposed themselves to media at a higher level than those 24 years of age or older. Differences in faculty of study displayed corresponding differences in exposure to the following media: billboards, books, verbal media using discussion, websites and online social media. Relationships between differences in faculties and the times at which the students experienced the media exposure were also found. (4) The students in different faculties evinced differences in their levels of ASEAN community knowledge. Those enrolled in the Faculty of Law exhibited knowledge levels at the highest level, followed by those from the Faculty of Humanities and the Faculty of Business Administration. (5) The media exposure from television, brochures and leaflets, billboards, books, verbal media using lectures, and exhibitions was determined to be positively correlated with levels of ASEAN Community knowledge.


Keyword

Association of Southeast Asian Nations, media exposure, news perception

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับสื่อ ระดับความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง อีกทั้งยังศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะประชากรกับการเปิดรับสื่อเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ความสัมพันธ์กับระดับความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน และความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อกับความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยรามคำแหง เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือแบบสอบถามที่ใช้เก็บรวบรวมความคิดเห็นของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 420 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ และใช้สถิติพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่เป็นค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้สถิติ ไคสแควร์ (Chi-Square) ค่าสหสัมพันธ์ (correlation) และ การทดสอบค่าที (independent sample t-test) และ ANOVA (analysis of variance) ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างเปิดรับสื่อเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนในระดับมาก ผ่านทางสื่อโทรทัศน์ เครือข่ายสังคมออนไลน์ สื่อเว็บไซต์ และสื่อหนังสือพิมพ์ ส่วนใหญ่เปิดรับสื่อเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนเฉลี่ย 1-2 ครั้งต่อเดือน โดยใช้เวลาน้อยกว่า 15 นาที และเปิดรับสื่อเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนในช่วง 12.01-18.00 น. 2) ระดับความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนในระดับน้อย 3) นักศึกษาที่มีเพศต่างกันมีการเปิดรับสื่อโทรทัศน์ สื่อแผ่นป้ายโฆษณา หนังสือ และนิตยสาร/วารสารที่แตกต่างกัน และมีความสัมพันธ์กับความถี่และช่วงเวลาในการเปิดรับสื่อ ส่วนนักศึกษาที่มีอายุที่ต่างกันมีการเปิดรับประเภทสื่อแผ่นป้ายโฆษณา หนังสือ สื่อวาจาโดยการสัมภาษณ์ นิทรรศการและสื่อกิจกรรมพิเศษต่างกัน และอายุต่างกันมีความสัมพันธ์กับระยะเวลาในการเปิดรับสื่อโดยนักศึกษาที่มีอายุน้อยกว่า 24 ปีมีการเปิดรับประเภทของสื่อมากกว่าอายุตั้งแต่ 24 ปีขึ้นไป นักศึกษาที่สังกัดคณะที่ต่างกันมีการเปิดรับสื่อแผ่นป้ายโฆษณา หนังสือ วาจาโดยการอภิปราย เว็บไซต์ และเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่างกัน และคณะที่ต่างกันมีความสัมพันธ์กับระยะเวลาในการเปิดรับสื่อ 4) นักศึกษาที่สังกัดคณะต่างกันมีระดับความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนต่างกัน โดยคณะนิติศาสตร์มีระดับความรู้โดยเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือคณะมนุษยศาสตร์ และคณะบริหารธุรกิจ 5) การเปิดรับสื่อโทรทัศน์ แผ่นพับ/ใบปลิว แผ่นป้ายโฆษณา หนังสือ สื่อวาจาโดยการบรรยาย และนิทรรศการมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระดับความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน


คำสำคัญ

ประชาคมอาเซียน การเปิดรับสื่อ การรับรู้ข่าวสาร