• วราภรณ์ จุลปานนท์
    : รองศาสตราจารย์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
FULL TEXT

Abstract

The purposes of this research were to study (1) ASEAN’s approach toward external economic relations, or ASEAN’s integration into the global economy, by reviewing ASEAN’s commitments in FTAs/CEP vis-à-vis its external commitments, such as ASEAN+1 FTAs, ASEAN+3 FTAs, ASEAN+6 FTAs, and the Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP), and (2) ASEAN’s position on regional economic cooperation architecture in Asia, in light of the fact that the AEC Blueprint and ASEAN Charter also emphasize the importance of “ASEAN Centrality” in this process. The study revealed that the building of relationships with non-ASEAN countries was progressing strongly. ASEAN could integrate more into the global economy by the establishment of the RCEP, which would integrate all five of the ASEAN+1 FTAs into a regional economic framework; this was expected to be concluded by the end of 2015 and would involve a region accounting for almost half of the global market and about a third of the world’s economic output. Moreover, the RCEP model is deeper than the existing FTA co-operation and it supports equitable economic development in the areas of trade liberalization in goods, services and investment, technical cooperation, trade facilitation, intellectual property, and dispute settlement. Lastly, ASEAN should take the lead in the RCEP framework, so that it could achieve the goal of “ASEAN Centrality” in the regional architecture of Asia.


Keyword

ASEAN, Asia, centrality, architecture for regional economic cooperation

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง อาเซียน : แกนกลางของสถาปัตยกรรมความร่วมมือในเอเชียมีจุดประสงค์สำคัญคือ ศึกษาแนวทางของอาเซียนในความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับประเทศนอกกลุ่มหรือการบูรณาการกับระบบเศรษฐกิจโลก ในกรอบอาเซียน+1 อาเซียน+3  อาเซียน+6 หรือการจัดทำหุ้นส่วนเศรษฐกิจส่วนภูมิภาคของอาเซียน (อาเซป) ตลอดจน ศึกษาสถานะของอาเซียนในโครงสร้างสถาปัตยกรรมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในเอเชีย ซึ่งพิมพ์เขียวจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและกฎบัตรอาเซียน ได้เน้นถึงความสำคัญของอาเซียนในการเป็นแกนกลางในการดำเนินงานดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่า พัฒนาการในการสร้างความสัมพันธ์กับประเทศนอกกลุ่มมีความก้าวหน้าอย่างดี โดยอาเซียนสามารถบูรณาการเข้ากับระบบเศรษฐกิจโลกได้อย่างแน่นแฟ้นมากขึ้น เห็นได้จากการจัดตั้งอาเซป ซึ่งเป็นข้อตกลงที่รวมข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างอาเซียนกับประเทศนอกกลุ่ม 5 ฉบับ เป็นฉบับเดียวกัน ซึ่งกำหนดจะบรรลุผลในปลายปี 2015 ซึ่งจะเป็นข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจส่วนภูมิภาคขนาดใหญ่ โดยมีขนาดตลาดใหญ่เกือบครึ่งหนึ่งของตลาดโลก มีขนาดเศรษฐกิจหรือผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน (จีดีพี) ประมาณ 1 ใน 3 ของจีดีพีโลก นอกจากนี้อาเซปยังเป็นข้อตกลงที่มีรูปแบบไกลเกินกว่าเขตการค้าเสรี และมีการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาคทั้งในการเปิดเสรีภาคการค้า การบริการ การลงทุน รวมถึงความร่วมมือทางเทคนิคหรือการอำนวยความสะดวกด้านการค้า สินทรัพย์ทางปัญญา และการระงับข้อพิพาท อาเซียนจึงเน้นการเสริมสร้างบทบาทนำในกรอบเจรจาอาเซปเพื่อบรรลุถึงการเป็นแกนกลางของสถาปัตยกรรมความร่วมมือในเอเชีย


คำสำคัญ

อาเซียน เอเชีย ศูนย์กลาง สถาปัตยกรรมความร่วมมือ