• วัสสิกา รุมาคม
    : อาจารย์ คณะศิลปศาสตร์และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
FULL TEXT

Abstract

The purposes of this research were to study the effectiveness and job satisfaction of teachers under the Secondary Educational Service Area Office 4, to study the relationship between personal factors and effectiveness of teachers under the said office, and to study the relationship between effectiveness and job satisfaction of teachers under the office. The sample consisted of 213 teachers. The tool used in this research was a questionnaire. Statistical analysis methods used to analyze the data were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test independent sample, F-test (One-way ANOVA), and Pearson’s correlation coefficient (√ ). The results show that 1) the effectiveness of these teachers was at the highest level, 2) these teachers’ job satisfaction was at a high level, 3) different sexes of these teachers showed no differences in effectiveness, 4) different ages of these teachers showed no differences in effectiveness, 5) different education backgrounds of these teachers revealed no differences in effectiveness, 6) different monthly income levels of these teachers showed no differences in effectiveness, 7) different marital status of these teachers did reveal differences in effectiveness, and 8) effectiveness of these teachers had a positive relationship to job satisfaction at a moderate level.


Keyword

Effectiveness, Job satisfaction, Pathumthani Secondary Educational Service Area Office 4, Teachers

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลและความพึงพอใจในการทำงานของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานีเขต 4 เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและประสิทธิผลของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานีเขต 4 และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผลและความพึงพอใจในการทำงานของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานีเขต 4กลุ่มตัวอย่างคือ ครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานีเขต 4 จำนวน 213 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test independent sample ค่า F-test (One-way ANOVA) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันผลการวิจัยพบว่า 1.ประสิทธิผลของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานีเขต 4 อยู่ในระดับมากที่สุด 2.ความพึงพอใจในการทำงานของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานีเขต 4 อยู่ในระดับมาก 3.ครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานีเขต 4 เพศชายและเพศหญิงมีประสิทธิผลไม่แตกต่างกัน 4.ครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานีเขต 4 ที่อายุต่างกันมีประสิทธิผลไม่แตกต่างกัน 5.ครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานีเขต 4 ที่มีวุฒิการศึกษาต่างกันมีประสิทธิผลไม่แตกต่างกัน 6.ครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานีเขต 4 ที่มีระดับรายได้ต่อเดือนต่างกันมีประสิทธิผลไม่แตกต่างกัน 7.ครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานีเขต 4 ที่มีสถานภาพการสมรสต่างกันมีประสิทธิผลแตกต่างกัน 8.ประสิทธิผลมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความพึงพอใจในการทำงานของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานีเขต 4 ในระดับปานกลาง


คำสำคัญ

ประสิทธิผล ความพึงพอใจในการทำงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานีเขต 4 ครู