• ชลวัฒน์ โพธิ์ด้วง
    : นิสิตระดับมหาบัณฑิต แขนงวิชาการจัดการการกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • เทพประสิทธิ์ กุลธวัชวิชัย
    : รองศาสตราจารย์ กำกับดูแลหน่วยแผนและงประมาณ หน่วยประกันคุณภาพและเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
FULL TEXT

Abstract

This study investigates the guidelines for organizing the Thailand Swimming Championships. The process was divided into three phases. In Phase 1, the Organizing Committee members, as well as staff members working in six divisions of the Thailand Swimming Association in charge of the organization of the swimming competition, were interviewed, and the findings were used to construct a questionnaire to elicit data on problems in organizing the championship match. In Phase 2, the questionnaire, designed in the previous phase, was employed to elicit data from a total of 413 coaches, swimmers, and audience members participating in the championship match. The questionnaire was examined to ensure its content validity using the Index of Item-Objective Congruence (IOC). The IOC Index was set at 0.50 or higher, and it was found that the IOC of the questionnaire was equal to 0.87. The questionnaire was then tried out with 30 subjects who were not subjects of the main study to ensure its reliability. After data collection was completed, the data elicited in this phase were then analyzed by means of descriptive statistics of percentage and means. After that, the findings from the first two phases were utilized to develop a questionnaire on the feasibility of implementing the guidelines to ensure success in the organization of the Thailand Swimming Championships. In this final phase, data were elicited from six experts involved in organizing the championship match, and the findings were then used to devise the guidelines on organizing the Thailand Swimming Championships. The study findings revealed that the guidelines should consist of the following: 1) there need to be enough staff members to sufficiently take charge of different duties and assignments; 2) sufficient budgets should be allocated for leasing or the purchase of equipment that is up-to-date and that complies with the rules and regulations of the Fédération Internationale de Natation (FINA); 3) toilet facilities at the venue should be clean and sufficient to serve participants in the competition and the swimmers; 4) private areas should be arranged for examination of swimmers’ possible use of prohibited substances, to ensure compliance with international standards of the competition; 5) automatic timers and stopwatches should be calibrated and improved to ensure their accuracy as well as their visibility by both swimmers and the audience, and the length, width, and depth of the pool, as well as signs and symbols used in the competition, should be standardized; 6) standardized starting blocks that comply with the rules and regulations of FINA should be acquired; 7) schedules should be strictly followed as specified in the program book to ensure standardization of the competition; 8) the competition should be arranged in ways that attract participants’ attention and arouse their interest, and the dates of the competition should be set in accordance with the targeted events of the Thailand Swimming Association to ensure compliance with the rules and regulations of FINA; and 9) the format of the championship match should be more up-to-date and internationalized, and the event should be more widely publicized among outsiders.


Keyword

Guideline, Sports event management, Swimming, Thailand Swimming Championships

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการแข่งขันกีฬาว่ายน้ำชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ผู้วิจัยได้กำหนดวิธีการดำเนินงานวิจัยออกเป็น 3 ขั้นตอน โดยขั้นตอนที่ 1 ใช้วิธีการสัมภาษณ์สภาพและปัญหาการจัดการแข่งขันกีฬาว่ายน้ำชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย จากคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ควบคุมการจัดการแข่งขันกีฬาว่ายน้ำชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ฝ่ายต่างๆ ของสมาคมกีฬาว่ายน้ำแห่งประเทศไทยจำนวน 6 ฝ่าย เพื่อนำผลการสัมภาษณ์มาสร้างแบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาการจัดการแข่งขันกีฬาว่ายน้ำชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย และนำมาใช้ในขั้นตอนที่ 2 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้ฝึกสอน กลุ่มนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขัน และกลุ่มผู้ชมการแข่งขัน จำนวนทั้งสิ้น 413 คน และได้ทำการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยวิธีการประเมินความสอดคล้องระหว่างรายการปัญหาและความต้องการกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยหลังจากนั้นนำผลการประเมินมาวิเคราะห์หาค่าดัชนีโดยผู้วิจัยได้กำหนดค่าดัชนีความสอดคล้องไว้ตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มีค่าดัชนีเท่ากับ 0.87 จากนั้นผู้วิจัยนำแบบสอบถามไปทดลองใช้เพื่อหาคุณภาพ กับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจริง จำนวน 30 คนเพื่อตรวจสอบความเที่ยง หลังจากเก็บรวบรวมข้อมูลเสร็จสิ้นจึงนำข้อมูลไปวิเคราะห์ค่าทางสถิติ โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยในขั้นตอนที่ 1 และ 2 จะนำไปพัฒนาเป็นแบบสอบถามพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะนำแนวทางไปพัฒนาการจัดการแข่งขันกีฬาว่ายน้ำชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ให้ประสบความสำเร็จ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการแข่งขัน ผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในการจัดการแข่งขัน จำนวน 6 คน และนำข้อมูลไปพิจารณาเป็นแนวทางการจัดการแข่งขันกีฬาว่ายน้ำชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทยต่อไป ผลการวิจัยพบว่าแนวทางการจัดการแข่งขันกีฬาว่ายน้ำชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ประกอบด้วย 1) ควรจัดการให้จำนวนบุคลากรในการจัดการแข่งขันมีอย่างเพียงพอ ควรจัดบุคลากรในตำแหน่งต่างๆ ให้มีความเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน 2) ควรจัดสรรงบประมาณที่เช่าซื้ออุปกรณ์ที่ทันสมัยและเป็นไปตามกฎของสหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติ 3) ควรจัดการห้องน้ำภายในสถานที่จัดการแข่งขันฯ ให้มีความสะอาดและเพียงพอต่อการใช้บริการของผู้เข้าร่วมการแข่งขัน 4) ควรจัดสถานที่สำหรับตรวจสารต้องห้ามของนักกีฬาเพื่อความเป็นสากลของการแข่งขัน 5) ควรมีการปรับปรุงและแก้ไขอุปกรณ์จับเวลาอัตโนมัติให้มีความเที่ยงตรงแม่นยำและง่ายต่อการมองเห็นของนักกีฬาและผู้ชมการแข่งขันมีการปรับปรุงและแก้ไข รวมถึงขนาดความยาวความกว้างและความลึกรวมถึงเครื่องหมายสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการแข่งขันภายในสระว่ายน้ำให้ได้มาตรฐาน 6) ควรจัดหาแท่นกระโดดที่ได้มาตรฐานเป็นไปตามกฎระเบียบข้อบังคับของสหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติ 7) ควรกำหนดเวลาในการแข่งขันให้ตรงกับที่ได้กำหนดไว้ในสูจิบัตร เพื่อให้เป็นมาตรฐานของการจัดการแข่งขัน 8) ควรจัดการแข่งขันให้มีความน่าตื่นเต้นและน่าสนใจต่อผู้ที่เข้าร่วมการแข่งขันควรกำหนดวันที่ใช้แข่งขันให้ตรงกันกับวันที่รายการแข่งขันที่เป็นเป้าหมายของสมาคมกีฬาว่ายน้ำแห่งประเทศไทยนั้นส่งเข้าร่วมทำการแข่งขัน เพื่อให้สอดคล้องกับกฎระเบียบข้อบังคับของสหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติ 9) ควรมีรูปแบบการจัดการแข่งขันที่มีความทันสมัยและเป็นสากลมากยิ่งขึ้นรวมถึงการประชาสัมพันธ์ที่ทั่วถึงผู้คนภายนอก


คำสำคัญ

แนวทาง การจัดการแข่งขันกีฬากีฬาว่ายน้ำ การแข่งขันว่ายน้ำชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย