• สุริย์วิภา ไชยพันธุ์
    : อาจารย์ ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจบริการ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
FULL TEXT

Abstract

The purposes of this research were 1) to study the environmental problems involved in the management of public areas in Bangkapi District, Bangkok, 2) to study the factors affecting the management of the problems, and 3) to study guidelines to promote participation in the development of the district’s public areas. This study employed the survey research among the 149,120 persons living in Bangkapi District. The data collection, involving 400 respondents, was based on simple calculation, with a 95% reliability. The level of error allowed for the difference between the statistics and parameters was not more than 5%. The research tool in this study was a questionnaire developed in-house with 0.9593 reliability; the statistics used for the data analysis were descriptive statistics (frequency, percentage, means, and standard deviation) and inferential statistics for analyzing the differences in the data using statistical t-test and F-test. The research revealed several issues: 1) the overall problems and factors causing the environmental management problems were found to be at the high level (x̄=3.80): water pollution (x̄=3.90), waste pollution (x̄=3.85) and air pollution (x̄=3.64); 2) the overall factors that affected the environmental problems of the community were found to be at the high level (x̄=3.76): personal factors (x̄=3.83), political and legal factors (x̄=3.81), social and cultural factors (x̄=3.80), and economic factors (x̄=3.61); 3) the overall participation of people in developing public areas was at the middle level (x̄=3.30): participation in solving problems and giving reasons (x̄=3.26), participation in operation (x̄=2.96), participation in planning and making decisions (x̄=2.96), and participation in follow-up (x̄=2.95). In conclusion, the hypothesis test of factors affecting the environmental problems of public areas in Bangkapi District shows significance at 0.05 level in age, educational level, average income per month, domicile, and current housing; sex and occupation, however, did not affect the district’s environmental problems.


Keyword

Environment, Management, Public area

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่สาธารณะเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมของเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานครโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และเพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่สาธารณะในเขตบางกะปิกรุงเทพมหานครโดยการใช้วิจัยเชิงสำรวจกับประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตบางกะปิกรุงเทพมหานคร จำนวน 149,120 คน และใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน โดยคำนวณจากสูตรอย่างง่ายที่ความเชื่อมั่น 95% ระดับความ-คลาดเคลื่อนที่ยินยอมให้ค่าสถิติแตกต่างจากค่าพารามิเตอร์ไม่เกิน 95% เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.9593 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย (x̄) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติเชิงอนุมาน เพื่อการวิเคราะห์หาความแตกต่างของข้อมูล โดยใช้สถิติ t-test และ F-test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้คือ (1) ปัญหาและปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชนโดยภาพรวม มีปัญหาอยู่ในระดับมากทุกด้าน (x̄ =3.80) โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยคือด้านปัญหามลพิษทางน้ำ (x̄ =3.90) รองลงมาคือด้านปัญหาขยะ (x̄ =3.85) และด้านปัญหามลพิษทางอากาศ (x̄ =3.64) (2) ปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชนโดยภาพรวม มีปัญหาอยู่ในระดับมาก (x̄ =3.76) โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยคือปัจจัยด้านบุคคล (x̄ =3.83) รองลงมาคือปัจจัยด้านการเมืองและกฎหมาย (x̄ =3.81)ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม (x̄ =3.80) และปัจจัยด้านเศรษฐกิจ (x̄ =3.61) และ (3) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาพื้นที่สาธารณะโดยภาพรวม มีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ =3.30) โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยคือด้านการมีส่วนร่วมคิดหาปัญหาและสาเหตุ (x̄ =3.26) รองลงมาคือด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ (x̄ =2.96) ด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผนและตัดสินใจ (x̄ =2.96) และด้านการมีส่วนร่วมในการติดตามผล (x̄ =2.95) สรุปผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่สาธารณะในเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ได้แก่ ปัจจัยอายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ภูมิลำเนาเดิม และที่อยู่อาศัยในปัจจุบันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยที่ไม่มีผลต่อการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่สาธารณะในเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ได้แก่ ปัจจัยเพศ และอาชีพ

 


คำสำคัญ

สิ่งแวดล้อม การจัดการ พื้นที่สาธารณะ