• สวรรยา แสงสุข
    : อาจารย์ประจำคณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
FULL TEXT

Abstract

In this research investigation, the researcher determines 1 the efficiency of computer-assisted instruction CAI in the Knowledge Storage Techniques course. The researcher also ascertains 2 the level of student satisfaction with CAI in this course. Furthermore, the researcher reports 3 the recommendations made by students in this CAI course. Finally, the researcher details 4 how the CAI course can be further developed and improved. The sample population consisted of 20 students enrolled in the Bachelor of Arts program in the field of Human Resource Development. The research instruments were CAI the Knowledge Storage Techniques course; an academic achievement test; and a questionnaire eliciting data concerning student satisfaction with instruction and study in the course. All research instruments were tested for content validity. The reliability levels of the academic achievement test and the questionnaire eliciting data concerning student satisfaction with instruction and study were found to be at 0.83 and 0.95, respectively. Using techniques of descriptive statistics, the researcher analyzed the data collected in terms of frequency, percentage, mean and standard deviation. Findings are as follows: 1. The mean score for academic achievement during the study and at the end of the study were higher than the set standard. The E1/E2 scores were 84.90/80.42, respectively, which meant that the CAI for this course satisfied the efficiency standard. 2. The means for the level of student satisfactions with instruction and study overall and in the aspects of contents; language use; illustrations; design of the instruction and study system; the components of constituent media; and program design showed values that were higher than the set standard values. 3. In regard to student recommendations, students recommended that the contents should be concise and congruent with lesson objectives. Contents should be reduced so as to facilitate recall. The language should be simplified. Illustrations and graphics should be designed so as to attract attention. They were also desirous of having lessons available online or in e-learning systems. 4. Adjustments and improvements should be made in CAI for the course in Knowledge Storage Techniques. The contents should follow course objectives in the aspect of knowledge in respect to the principles and concepts of knowledge storage. Contents should be improved through becoming more concise, easier to understand, and brought up-to-date. In the aspect of application and adaptation of knowledge storage, improvements should be made by giving examples of organizations which have installed programs providing answers to questions.


Keyword

computer-assisted instruction, knowledge Storage, learning achievement

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในกระบวนวิชาเทคนิค ในการจัดเก็บความรู้ ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในกระบวนวิชาเทคนิคในการจัดเก็บความรู้ และเพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในกระบวนวิชาเทคนิคในการจัดเก็บความรู้ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยคือ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในกระบวนวิชาเทคนิคในการจัดเก็บความรู้แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษา เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และค่าความเชื่อมั่นจากแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ ในการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษา เท่ากับ 0.83 และ 0.95 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ คือ ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ระหว่างเรียน และสิ้นสุดการเรียนมีค่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด โดยมีค่า E1/E2 เท่ากับ 84.90/80.42 แสดงว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในกระบวนวิชาเทคนิคในการจัดเก็บความรู้ มีประสิทธิภาพ และค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยรวมและรายด้านทุกด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหา การใช้ภาษา ภาพ การออกแบบระบบการเรียนการสอน ส่วนประกอบ ด้านสื่อประสม และการออกแบบโปรแกรม มีค่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และข้อเสนอแนะของนักศึกษา เห็นว่าเนื้อหาควรกระชับและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์บทเรียน ปรับเนื้อหาให้น้อยลงเพื่อให้จำได้มากขึ้น ปรับการใช้ภาษาให้ง่ายต่อความเข้าใจปรับภาพและกราฟิกให้ดึงดูดความสนใจ และต้องการให้สร้างบทเรียนผ่านระบบออนไลน์ หรือ การเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) และปรับปรุงและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในกระบวนวิชาเทคนิคในการจัดเก็บความรู้ โดยปรับเนื้อหาบทเรียนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ด้านความรู้ ได้แก่ หลักและแนวคิดในการจัดเก็บความรู้ ปรับให้กระชับและปรับเนื้อหาให้เข้าใจง่ายและทันสมัย ด้านการประยุกต์และการปรับใช้แนวคิดการจัดเก็บความรู้ ได้แก่ ยกตัวอย่างองค์กรต่าง ๆ และติดตั้งโปรแกรมตอบคำถาม


คำสำคัญ

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การจัดเก็บความรู้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน