• ชุตาภา คุณสุข
    : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • นิสาชล สาดแก้ว
    : นักศึกษาปริญญาตรี ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • พงษ์ชัย ดำรงโรจน์วัฒนา
    : อาจารย์ ดร. ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วิรังรอง กรินท์ธัญญกิจ
    : อาจารย์ ดร. ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
FULL TEXT

Abstract

Species diversity and abundance of benthos in seagrass bed (Halodule pinifolia) at Kung Krabaen Bay, Chanthaburi Province was conducted four times on April, July, October 2016 and February 2017. Species diversity of benthos was comprised of 23 genera and 25 species. Phylum Mollusca was mostly found belonging to 14 genera and 16 species. The most dominant species was Sermyla riquetii. The result also found that abundance of benthos was mostly found in quadrate 4. The density was 32.3 individual/m2 while in the quadrate 6 was lowest abundance. The density of benthos was 22.8 individual/m2.  oreover, abundance of benthos in wet season higher than dry season. Statistical analysis showed that there was a significantly difference in each season (P<0.05). Additionally, the results found that the average survival rate of seagrass Halodule pinifolia was 73.75%.


Keyword

species diversity, abundance, benthos, seagrass bed, Kung Krabaen Bay

บทคัดย่อ

การศึกษาความหลากชนิดและความชุกชุมของสัตว์หน้าดินในแหล่งหญ้าทะเลผมนางที่มีการฟื้นฟู บริเวณ อ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี จำนวน 4 ครั้ง ในเดือนเมษายน 2559 เดือนกรกฎาคม 2559 เดือนตุลาคม 2559 และ เดือนกุมภาพันธ์ 2560 ผลการศึกษาพบสัตว์หน้าดินทั้งหมด 23 สกุล 25 ชนิดไฟลัมที่พบมากที่สุดคือไฟลัมมอลลัสกา (Mollusca) พบหอยทะเลทั้งหมด 14 สกุล 16 ชนิด พบหอยชนิดเด่น คือ หอยเจดีย์ (Sermyla riquetii) ผลการศึกษายัง พบความชุกชุมของสัตว์หน้าดินมากที่สุดในควอดแดรทที่ 4 มีความหนาแน่น 32.3 ตัว/ตารางเมตร และพบความชุกชุม น้อยที่สุดในควอดแดรทที่ 6 มีความหนาแน่น 22.8 ตัว/ตารางเมตร ผลการศึกษาความชุกชุมของสัตว์หน้าดินพบใน ฤดูฝนมากกว่าฤดูแล้งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) นอกจากนี้ผลการศึกษาอัตราการรอดตายของหญ้าทะล ผมนาง (Halodule pinifolia) พบว่ามีอัตราการรอดตายของหญ้าทะเลผมนางเฉลี่ย 73.75% 


คำสำคัญ

ความหลากชนิด ความชุกชุม สัตว์หน้าดิน หญ้าทะเล อ่าวคุ้งกระเบน