• ธัญญธร อินศร
    : รองศาสตราจารย์ ดร. ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
FULL TEXT

Abstract

This research study, regarding the enforcement of Non-Smokers’ Health Protection Act: A Case Study of Entertainment Venues in Bangkok Metropolitan Area and Pattaya Metropolitan Area (Legal and Criminology Perspective), is divided into two parts. First, a review of the documents, which is an analysis and synthesis of the Non-Smoker's Health Control Act B.E. 2535 and a comparison with the Smoking Act 2002 of Singapore, was completed. The second part of the research involves a qualitative study by in-depth interviews. The study shows that smoking in forbidden venues is a violation of the Non-Smoker's Health Control Act, which in terms of criminology, is categorized as criminal by Mala Prohibita and a public order crime. From this study, in the aspect related to punishment, it is apparent that punitive damages involve a fine, which aims to restrain behavior or prevent future repeated offenses and to discourage others from violating the law. In the case of Singapore's Smoking Act of 2002, violators are to be prosecuted by fines and incarceration, but the emphasis is on imposing fines, with escalating levels of fines for the second and third offenses, introducing the idea of punitive damages, which is different from the Thai law, which does not have a similar law. Other than this, in Singapore, if an offender does not admit guilt, or refuses to pay the fine, then the authorities will bring the case before the Magistrate Court, which is similar to Thai law. However, officials must enforce the law consistently, starting with interventions that begin with light penalties to heavier punishments, similar to the enforcement of the Cleanliness Act of 2535 because this is a violation that is not severe. Also, this has the characteristic of Mala Prohibita, which, in a similar vein, requests cooperation from the general public. In addition to this, a punitive action may be taken in certain cases in order to force compliance with the law, as well as all other related laws that involve the protection of the health of non-smokers. This is similar to the enforcement of the Public Health Act of 2535 in the aspect of annoyance of others, which is clarified in the law, article 5, sections 25-28, in conjunction with article 10, which gives authority and duty to local officers and public health officials.


Keyword

entertainment venue, for non-smoking person, law enforcement, smoking prohibition

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง สภาพการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ : กรณีศึกษาสถานบันเทิงในเขตกรุงเทพมหานคร และเขตเมืองพัทยา (มุมมองทางกฎหมายและอาชญาวิทยา) ได้แบ่งการศึกษาออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนแรกเป็นการวิจัยเชิงเอกสาร ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ สังเคราะห์ พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 และเปรียบเทียบกับ Smoking Act 2002 ของประเทศสิงคโปร์ ส่วนที่สองเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ในแนวลึก (Indepth Interview) จากการศึกษาพบว่าการสูบบุหรี่ในสถานที่ที่ห้ามสูบนั้นเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 ซึ่งในทางอาชญาวิทยามีแนวคิดว่า การกระทำดังกล่าวจัดอยู่ในความหมายของอาชญากรรมที่กฎหมายบัญญัติเป็นข้อห้าม (Mala Prohibita) และเป็นอาชญากรรมที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม (Public Order Crime) จากการศึกษา ในประเด็นเกี่ยวกับบทกำหนดโทษนั้น พบว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 มีบทกำหนดโทษทางอาญา โดยมีโทษปรับ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการข่มขู่ยับยั้ง และการป้องปรามมิให้ผู้นั้นกระทำความผิดซ้ำอีก และเพื่อเป็นการปรามมิให้ผู้อื่นกระทำตาม อย่างไรก็ตาม บทบัญญัติกฎหมายสิงคโปร์ในเรื่องนี้ ได้วางบทบัญญัติในโทษปรับ และโทษจำคุกเอาไว้แต่มุ่งเน้นที่การใช้โทษปรับ โดยจะเพิ่มโทษในการกระทำความผิดซ้ำครั้งที่ 2, 3 และความผิดซ้ำหลังจากนั้น อีกทั้งยังได้นำหลักการเรื่อง Punitive Damage หรือค่าเสียหายในเชิงการลงโทษมาใช้ ซึ่งแตกต่างจากกฎหมายไทยเพราะไม่มีบทบัญญัติในส่วนนี้ นอกจากนี้ยังพบว่า หากผู้กระทำผิดไม่ยอมรับผิด หรือไม่ยอมชำระค่าปรับ เช่นนี้เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจจะดำเนินการฟ้องคดีไปยังศาล Magistrate Court หรือ ศาลแขวง ต่อไป ซึ่งหลักการนี้เหมือนกันกับกฎหมายของไทย อย่างไรก็ตาม เจ้าพนักงานจะต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ควรเริ่มจากมาตรการในการบังคับใช้กฎหมายจากเบาไปหาหนัก โดยอาจเทียบเคียงจากการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาด พ.ศ. 2535 เพราะเป็นการกระทำความผิดที่มีลักษณะไม่ร้ายแรง และมีลักษณะเป็น Mala Prohibita เช่นเดียวกันซึ่งกฎหมายฉบับนี้จะเน้นในเรื่องของการขอความร่วมมือจากประชาชนเพื่อให้ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วม นอกจากนี้ยังอาจนำโทษทางปกครองมาประยุกต์ใช้กับกรณีเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ผู้วิจัยเห็นว่าควรเทียบเคียงการบังคับใช้บทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง และใกล้เคียงกับการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ ซึ่งน่าจะเทียบเคียงได้กับพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ในส่วนของเหตุรำคาญ ซึ่งบัญญัติไว้ในหมวด 5 มาตรา 25 - 28 ประกอบกับหมวด 10 ในส่วนของอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น และ
เจ้าพนักงานสาธารณสุข


คำสำคัญ

สถานบันเทิง ผู้ไม่สูบบุหรี่ การบังคับใช้กฎหมายการคุ้มครองสุขภาพ ข้อห้าม