• กฤชนนท์ บึงไกร
    : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • กัลยรัตน์ พินิจจันทร์
    : สาขาวิชาการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • จำลอง โพธิ์บุญ
    : รองศาสตราจารย์ ดร. คณะวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • นัชส์ณภัทร์ เจียมวิจิตร
    : ดร. อาจารย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
FULL TEXT

Abstract

This research aims to develop a model of factors influencing green manufacturing practices and operation performance of Small and Medium Enterprises (SMEs) in Thailand’s Food Industry; The sample is drawn from 198 entrepreneurs in small and medium enterprises. Using Multi - Stage Sampling method. A questionnaire is employed as a research instrument. Data is analyzed using Confirmatory factor analysis and Structural Equation Modeling : SEM. The result of this research found that 1) external driving factors (environmental regulations and marketing factors) had direct positive influence on green manufacturing practices (DE = 0.53). Internal driving factors (social responsibility, top management commitment and sharedvision) had direct positive influence on green manufacturing practices (DE = 0.58) 2) Model of Factors Influencing Green Manufacturing Practices and operation performance of Small and Medium Enterprises in Thailand’s Food Industry was conformed to empirical data at a good level and was fitted. Model was accepted at 62.00 and 68.00 percent which passed criterion of up to 40 percent.


Keyword

food industry, green manufacturing, small and medium enterprises

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอุตสาหกรรมอาหารของไทย กลุ่มตัวอย่างคือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) จำนวน 198 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยกระตุ้นภายนอกองค์กร (กฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม และปัจจัยทางการตลาด) มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการปฏิบัติการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (DE = 0.53) และปัจจัยกระตุ้นภายในองค์กร (ความรับผิดชอบต่อสังคม ความมุ่งมั่นของผู้บริหารระดับสูง และการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน) มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการปฏิบัติการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (DE = 0.58) และ 2) โมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่พัฒนาขึ้นมีความสามารถในการพยากรณ์ผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในอุตสาหกรรมอาหารของไทยได้ดีและยอมรับได้ คิดเป็นร้อยละ 62.00 และ 68.00 ตามลำดับ ซึ่งผ่านเกณฑ์ร้อยละ 40 ขึ้นไป

 

 


คำสำคัญ

อุตสาหกรรมอาหาร การผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม