• สิรชา วังวงศ์
    : สาขากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
FULL TEXT

Abstract

The purpose of this research was to investigate the continuity of the provision of public services, a case study of administrative contract management in Thailand. The methodology employed was qualitative (document research) in nature. A comparative analysis was done based on the principles of law. The results show that the administrative contract management involves the provision of public services in Thailand does not have continuity in the management of the contract, nor are there measures or mechanisms that concretely determine the operating guidelines and procedures. As a consequence, when a dispute between parties arises, the public services provided according to the contracts are usually abandoned, which cause damage to the public interests. When these problems occur, the administration not only has a duty to execute the contracts as a party, but is also considered as the party that has a duty to superintend public services so that they are able to operate continuously. This is also regarded as the direct responsibility of the administration, which exercises state power. Therefore, in order to solve the problems and ensure that the provision of public services continues, the administration should provide directions or measures for supervising and superintending the operation of public services. The author, therefore, suggests a direction for solving the problems as follows: The direction is a legal suggestion, which is to use the existing rule on superintendence and to follow up the overall operation results of public services under the Private Investments in State Undertakings Act B.E. 2556 (2013) as an operating guideline and to adapt the rule for appointing a committee on public service contract superintendence and follow-up. A benchmark will then be determined so that every state agency applies it as a practice. Therefore, it should be executed by means of adding certain provisions regarding the superintendence and follow-up of the overall operation results of public services into the Draft State Procurement and Supplies Management Act.


Keyword

administrative contract management, continuity of the provision of public services

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับเรื่องหลักความต่อเนื่องในการจัดทำบริการสาธารณะศึกษากรณีการบริหารสัญญาทางปกครองในประเทศไทย วิธีการวิจัยใช้วิธีการศึกษาแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Documentary Research) โดยทำการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบประกอบกับหลักกฎหมาย ผลการวิจัยพบว่าการบริหารสัญญาทางปกครองอันมีลักษณะเป็นการจัดทำบริการสาธารณะในประเทศไทยขาดหลักเกณฑ์การจัดการบริการสาธารณะให้มีความต่อเนื่อง การขาดมาตรการหรือกลไกที่จะเข้ามาเป็นตัวกำหนดแนวทางหรือขั้นตอนในการปฏิบัติงานอย่างเป็นรูปธรรม ส่งผลให้ในสัญญาทางปกครองเมื่อเกิดข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย บริการสาธารณะที่ถูกจัดทำขึ้นตามสัญญานั้นมักถูกละทิ้งจนก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์สาธารณะ กรณีปัญหาต่างๆ เหล่านี้นอกจากฝ่ายปกครองจะมีหน้าที่ดำเนินการตามสัญญาในฐานะคู่สัญญาแล้ว ฝ่ายปกครองยังอยู่ในฐานะซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่กำกับดูแลให้บริการสาธารณะสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง อันเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของฝ่ายปกครองผู้ใช้อำนาจรัฐด้วย ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาให้การจัดทำบริการสาธารณะเหล่านี้มีความต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา ฝ่ายปกครองควรจัดหาแนวทางหรือมาตรการมาใช้ในการควบคุมกำกับดูแลการดำเนินบริการสาธารณะให้มีความต่อเนื่อง ผู้เขียนจึงขอเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา ดังต่อไปนี้ ข้อเสนอแนะทางกฎหมาย ในการนำหลักเกณฑ์เรื่องของการกำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินบริการสาธารณะ แห่งพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 เข้ามาเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อปรับใช้ โดยการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานกลางเพื่อให้หน่วยงานของรัฐทุกแห่งนำไปใช้เป็นหลักปฏิบัติ จึงควรดำเนินการด้วยวิธีการเพิ่มเติมบทบัญญัติบางประการในเรื่องของการกำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินบริการสาธารณะเข้าไว้ในร่างพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ


คำสำคัญ

การบริหารสัญญาทางปกครอง หลักความต่อเนื่องในการจัดทำบริการสาธารณะ