• อภิชา แดงจำรูญ
    : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. หลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
FULL TEXT

Abstract

The objective of this research is to evaluate the Model of knowledge management through learning via weblog for acquiring an inquisitive mind of University students.  This research is the fourth phases in Model’s research and development process: Model evaluation phrase (Phase 1: Development of knowledge management model through learning via weblog, Background study. Phase 2: Create knowledge management model through learning via weblog, create evaluation criteria of an inquisitive mind and weblog. Phase 3: Study the effects of the process of sixteen weeks). Evaluators are 7 experts. The instruments used are including assessment model and check list form. Samples are 30 university students enrolled in CEE3205  (Arts for Elementary Teachers)  subject for 16 weeks’ time. Statistics used in this research are mean and standard deviation. 

The result shows that, all elements of the IMTEAC model are rated highly appropriate ( = 4.59, S.D = 0.126). All steps of the model are rated highly appropriate ( = 4.63, S.D = .086). The model as well as its application for actual practice are rated highly appropriate ( = 4.71, S.D = .756). The model of knowledge management through learning via weblog consists of 6 elements as follows: 1) Technology 2) Knowledge for knowledge management 3) Learning activities 4) The teacher 5) The Student and
6) Assessment on the characteristics of having an inquisitive mind. The steps involved in the model consisted of 6 steps: 1) Introduction and Preparation 2) Create motivation 3) Sharing tacit/existing knowledge 4) Sharing explicit/external knowledge 5) Sharing through Action Learning and 6) Synthesis of constructed knowledge should be followed.


Keyword

Evaluation of Knowledge Management Model, Interaction Online, Reflective learning via Weblog, The Characteristics of Having an Inquisitive Mind

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการความรู้ด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเว็บบล็อกเพื่อพัฒนาคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต โดยงานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยและพัฒนาเป็นการวิจัยในระยะที่ 4 การประเมินรูปแบบฯ โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 ท่านเป็นผู้ประเมินรูปแบบฯ (ส่วนงานวิจัยใน 3 ระยะแรก ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบฯ ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับรูปแบบฯ ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบ ฯ สร้างร่างต้นแบบรูปแบบฯ การสนทนากลุ่มย่อยของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับองค์ประกอบและขั้นตอนของรูปแบบฯ ตรวจสอบคุณภาพต้นแบบของรูปแบบฯ สร้างและตรวจสอบคุณภาพแบบประเมินคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ จัดทำเว็บบล็อก คู่มือการใช้งานและประเมินเว็บบล็อก ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบฯ ศึกษาผลการใช้รูปแบบฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาวิชาเอกการประถมศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหงจำนวน 30 คน ทดลองรูปแบบเป็นระยะเวลา 16 สัปดาห์ ตลอดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โดยใช้วิชา CEE 3205 ศิลปะสำหรับครูประถมศึกษาเป็นรายวิชาที่ใช้ในการทดลองรูปแบบฯ) สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยระยะที่ 4 การประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการความรู้ด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเว็บบล็อก: IMTEAC Model โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 ท่าน พบว่า ความเหมาะสมขององค์ประกอบทั้งหมดของรูปแบบฯ มีความเหมาะสมมากที่สุด
( = 4.59, S.D.= .126) ความเหมาะสมของขั้นตอนทั้งหมดของรูปแบบฯ มีความเหมาะสมมากที่สุด ( = 4.63, S.D.= .086) และความเหมาะสมของรูปแบบและการนำรูปแบบฯ ไปใช้ปฏิบัติจริงโดยภาพรวมมีความเหมาะสมมากที่สุด ( = 4.71, S.D.= .756) โดยองค์ประกอบของรูปแบบฯ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) เทคโนโลยี 2) ความรู้เพื่อการจัดการความรู้ 3) กิจกรรมการเรียนรู้ 4) ผู้สอน 5) ผู้เรียน และ 6) การประเมินคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ ส่วนขั้นตอนของรูปแบบฯ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) เตรียมความพร้อมก่อนเริ่มเรียนรู้ 2) สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ 3) ร่วมถ่ายทอดประสบการณ์เดิม 4) ร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ใหม่ 5) แบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง 6) ประมวลสรุปผลกลั่นองค์ความรู้


คำสำคัญ

การประเมินรูปแบบการจัดการความรู้, คุณลักษณะใฝ่เรียนรู้, เว็บบล็อก, ปฏิสัมพันธ์ออนไลน์