• หฤษฎ์ นิ่มรักษา
    : อาจารย์ เทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
FULL TEXT

Abstract

The antagonistic fungus Trichoderma harzianum is an effective biocontrol agent against several fungal soil borne plant pathogens. In this research, the isolations of T. harzianum were collected from different agricultural fields in central part of Thailand. In addition, the isolations expressing high potential to suppress fungus pathogens were screened in laboratory and subsequently used to examine fungicide efficiency in greenhouse. The biological product of an antagonistic T. harzianum was also produced. Soil samples collection, an antagonistic fungus T. harzianum of 33 isolations were derived. Their efficiency of growth inhibition on 8 phytopathogenic fungi was investigated by dual culture method on PDA medium. It was found that 2 isolations which were RU.Tr.005 and RU.Tr.008 showed highly suppression on growth of 8 phytopathogenic fungi. Subsequently, these two isolations were developed as power of bioproduct for plant pathogenic disease control. In comparison between these two isolations, RU.Tr.005 performed higher growth and abundant spore production as well as could live up to one year in rich husk. In greenhouse experiment, subsequently, the inhibition efficiency on tomato wilt from Fusarium oxysporum and Chinese kale leaf spot from Alternaria brassicicola was evaluated. The result showed that the treatments of T. harzianum (RU.Tr.005) culturing on PDA medium and cooked rice revealed efficacy to control tomato wilt as high as using of benomyl. In addition, all the treatments treated with antagonistic fungus and benomyl could effectively control Chinese kale leaf spot significantly differed from the group only inoculated with
A. brassicicola.


Keyword

Antagonistic Fungi , Biological Product , Plant Pathology

บทคัดย่อ

เชื้อราปฏิปักษ์ชนิด Trichoderma harzianum มีประสิทธิภาพในการควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืชได้ดี งานวิจัยนี้
ได้ทำการเก็บรวบรวมเชื้อรา T. harzianum จากพื้นที่ในเขตภาคกลางของประเทศไทยและคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการยับยั้งการเจริญของเชื้อราสาเหตุโรคพืชในห้องปฏิบัติการและทดสอบการควบคุมโรคพืชในเรือนเพาะชำ รวมถึงการพัฒนาเชื้อราปฏิปักษ์ในรูปผลิตภัณฑ์ชีวภาพสำหรับควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืช จากการเก็บตัวอย่างดินสามารถรวบรวมเชื้อรา T. harzianum ได้จำนวน 33 ไอโซเลท เมื่อนำมาทดสอบประสิทธิภาพการยับยั้ง
เชื้อราก่อโรคพืช 8 ชนิด ด้วยวิธี dual culture บนอาหารเลี้ยงเชื้อพีดีเอ พบว่ามี 2 ไอโซเลทที่แสดงผลยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราก่อโรคพืชทั้ง 8 ชนิดได้สูง คือ RU.Tr.005 และ RU.Tr.008 จึงนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพสำหรับใช้ควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืช จากการเปรียบเทียบเชื้อราปฏิปักษ์สองสายพันธุ์ พบว่า RU.Tr.005 เป็นเชื้อรา
ที่เจริญเติบโตได้ดี ผลิตสปอร์ได้จำนวนมากและมีอายุได้นาน 1 ปี ในชีวภัณฑ์ที่ผลิตจากรำหยาบ จึงนำไปทดสอบประสิทธิภาพในการควบคุมโรคพืช 2 ชนิด ได้แก่ โรคเหี่ยวมะเขือเทศ ที่เกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum และ
โรคใบจุดคะน้า ที่เกิดจากเชื้อรา Alternaria brassicicola โดยทดสอบในสภาพเรือนทดลอง จากผลการทดลองพบว่ากลุ่มที่ได้รับ เชื้อราปฏิปักษ์ T. harzianum (RU.Tr.005) สดจากอาหารพีดีเอและข้าวสุก ให้ผลในการควบคุมการเกิดโรคเหี่ยวมะเขือเทศได้ดีไม่แตกต่างทางสถิติกับการใช้สารเคมี benomyl นอกจากนี้พบว่าทุกกลุ่มการทดลองที่พ่น
เชื้อราปฏิปักษ์และพ่นสารเคมี benomyl ให้เปอร์เซ็นต์ควบคุมโรคใบจุดคะน้าได้ดี แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากกลุ่มที่มีการพ่นเชื้อรา A. brassicicola เพียงอย่างเดียว


คำสำคัญ

เชื้อราปฏิปักษ์ ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ โรคพืช