• ถนัด แก้วเจริญไพศาล
    : อาจารย์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • เพ็ญพล สังข์แก้ว
    : หลักสูตรการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิต คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
FULL TEXT

Abstract

The purposes of the research were (1) to examine the current circumstances, problems and obstacles of the management of fruit valuable chain (strawberry, avocado, and macadamia); (2) to develop fruit valuable chain management within Khao Kho district in Phetchabun province. This qualitative research employed data from documents and interviews with user involved in management on fruit valuable chain. The results of the study found that in terms of the upstream, the farmer lacked of money investment, water, effective transportations, vegetation, and high production costs. For the midstream, lack of exploiting and understanding new theory such as avocado and macadamia planting in June. In addition, the farmers put dung at the bottom of the hole and kept on using chemicals. Therefore, their products such as avocado and strawberry were not able to process and sell in the organic market. The shortage of knowledge on producing organic plants was an additional problem. In the light of the downstream, the farmers prefer to sell fresh fruits to retailers and wholesalers. For example, it is very popular for tourists to purchase strawberry at their farms. The biggest market of such fruits is located in Khao Kho district because it is a scenery town. However, the farmer still required the encouragement of processing, packaging, exporting, marketing and adding value. For encouraging the development of management of fruit valuable chain in Khao Kho district, 1) to provide the knowledge and the assistance on productive management of organic fruit farming, marketing, adding value, processing and breeding supply 2) to develop and control the quality of organic agriculture and 3) to allocate land for organic fruit according to the new theory.


Keyword

downstream, management on fruit valuable chain, midstream, upstream

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการศึกษาการจัดการห่วงโซ่คุณค่าไม้ผล อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและอุปสรรคของการจัดการห่วงโซ่คุณค่าไม้ผล (สตรอเบอรี่ อะโวคาโด มะคาเดเมีย) และศึกษาการจัดการห่วงโซ่คุณค่าไม้ผล เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดการห่วงโซ่คุณค่าไม้ผล อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และใช้การสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการห่วงโซ่คุณค่าไม้ผล ผลการศึกษา ในระดับต้นน้ำนั้น การจัดหาปัจจัยการผลิตพบว่า เกษตรกรขาดเงินทุน
ขาดแคลนน้ำ ขาดประสิทธิภาพเรื่องการขนส่ง จำนวนพันธุ์ไม้ยังไม่เพียงพอ ต้นทุนปัจจัยการผลิตมีราคาสูงขึ้น สำหรับ ระดับกลางน้ำ เกษตรกรมีปัญหาเรื่อง พื้นที่เพาะปลูกยังไม่ได้นำหลักทฤษฎีใหม่มาใช้เพราะขาดความรู้ความเข้าใจและเงินทุนในการซื้อ ต้นกล้าจากเชียงใหม่หรือเพาะต้นกล้าเอง สำหรับการปลูกอะโวคาโดและมะคาเดเมียในช่วงต้นเดือนมิถุนายน พบว่า พื้นที่ปลูกส่วนใหญ่ขาดแหล่งน้ำ และการจัดสรรพื้นที่ยังไม่เหมาะสมตามหลักทฤษฎีใหม่ ด้านการเพาะปลูกเกษตรกรใช้มูลสัตว์รองใต้หลุมในการปลูกพืช และยังซื้อพันธุ์จากศูนย์วิจัยเกษตรมาเพาะต้นกล้าด้วยตนเอง เกษตรกรที่ปลูกไม้ผลทั้งสามชนิดยังทำการเกษตรแบบใช้สารเคมี ปัญหาคือเกษตรกรไม่ได้ทำผลิตภัณฑ์แปรรูปอะโวคาโดและ
สตรอเบอรี่ แต่มีเกษตรกรบางรายได้ทำการแปรรูปเมล็ดมะคาเดเมียด้วยวิธีการบรรจุถุงสูญญากาศเพื่อจำหน่าย สำหรับปัญหาและอุปสรรคคือขาดความรู้ด้านการผลิตไม้ผลเกษตรอินทรีย์ ในส่วนของ ระดับปลายน้ำ เกษตรกรนิยมเก็บผลไม้สดขายให้แก่ผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีกที่ไร่ เช่น เกษตรกรเปิดให้นักท่องเที่ยวซื้อสตรอเบอรี่ได้ที่ไร่ของตนเอง โดยแหล่งตลาดที่ใหญ่ที่สุดของไม้ผลเป้าหมาย คือ ตลาดในอำเภอเขาค้อเพราะเป็นเมืองท่องเที่ยว และผลผลิตจะออกมากในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว ในด้านการตลาด รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ แต่เกษตรกรยังขาดการสนับสนุนแหล่งแปรรูป
การบรรจุหีบห่อ การส่งออก การตลาด การสร้างมูลค่าเพิ่ม แนวทางการพัฒนาการจัดการห่วงโซ่คุณค่าไม้ผล อำเภอเขาค้อ ข้อเสนอ 3 ข้อประการดังนี้ 1) ควรให้ความรู้และแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องแก่เกษตรกรเกี่ยวกับการจัดการการผลิตเกษตรไม้ผลอินทรีย์ การจัดการตลาด การสร้างมูลค่าเพิ่มและการแปรรูปผลผลิต และช่วยจัดหาพันธุ์ให้ 2) การพัฒนาและควบคุมคุณภาพการผลิตให้ปลูกแบบเกษตรอินทรีย์และ 3) ควรจัดสรรที่ดินในรูปแบบนิคมเกษตรไม้ผลอินทรีย์และมีโมเดลที่เป็นเอกลักษณ์ตามหลักทฤษฎีใหม่


คำสำคัญ

ระดับปลายน้ำ การจัดการห่วงโซ่คุณค่าไม้ผล ระดับกลางน้ำ ระดับต้นน้ำ