• กานต์รวี บุษยานนท์
    : อาจารย์ ดร. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • กิตติศักดิ์ ลักษณา
    : อาจารย์ ดร. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
FULL TEXT

Abstract

 

The objectives of this research were to study the perception of lecturers and students towards the importance of course syllabus and also to compare the perception of lecturers and students towards the importance of course syllabus. The sample group included students in a bachelor’s degree level in the academic year 2015 and lecturers who teach in a bachelor’s degree level in the academic year 2015 at Ramkhamhaeng University and the sample was 716 people altogether. The sample group was selected through the stratified random sampling. The tool employed in this research was the questionnaire. The data collection was statistically analyzed through frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test and one-way ANOVA. The results of the study revealed that: 1) Lecturers had the average of perception towards the importance of course syllabus in a higher level than students with the statistical significance at .001 level in 7 different factors, namely the regulation to punish exam cheaters, academic titles/positions, regulation to punish report cheaters, knowledge source, compulsory activities for students, material used in subject, and special assistance for disabled or special needs learners. 2) Students had the average of perception towards the importance of course syllabus in a higher level than lecturers with the statistical significance at .001 level in 15 different factors, namely home number, cell phone number, office phone number, email or social network, numbers of allowable absent attendance, score appeal method, report sample, report-making method, exam scope, grade criteria, exam type, scoring proportion, grading policy, lecturer’s name, and time and date of exam. 3) Students with different class attendance did not have the different average of perception towards the importance of course syllabus at the .001 statistical significant level.


Keyword

course syllabus, curriculum development, curriculum document

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ของอาจารย์และนักศึกษาที่มีต่อความสำคัญขององค์ประกอบของประมวลการสอน และเปรียบเทียบการรับรู้ของอาจารย์และนักศึกษาที่มีต่อความสำคัญขององค์ประกอบของประมวลการสอน กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตในปี 2557 และอาจารย์ผู้สอนในระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหงในปี 2557 จำนวน 716 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามผู้วิจัยนำมาวิเคราะห์หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) อาจารย์มีค่าเฉลี่ยการรับรู้ความสำคัญขององค์ประกอบของประมวลการสอนสูงกว่านักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 จำนวน 7 องค์ประกอบได้แก่ แนวปฏิบัติในการลงโทษผู้ทุจริตในการสอบ คำนำหน้านาม/ตำแหน่ง แนวปฏิบัติในการลงโทษผู้ทุจริตในการจัดทำรายงาน แหล่งการเรียนรู้ กิจกรรมที่ผู้เรียนจำเป็นต้องมีส่วนร่วมหรือเข้าชั้นเรียน วัสดุและอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในรายวิชา และความช่วยเหลือพิเศษที่ผู้สอนมีให้แก่ ผู้พิการหรือมีความต้องการเป็นพิเศษ 2) นักศึกษามีค่าเฉลี่ยการรับรู้ความสำคัญขององค์ประกอบของประมวล การสอนสูงกว่าอาจารย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 จำนวน 15 องค์ประกอบได้แก่ หมายเลขโทรศัพท์บ้าน หมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ หมายเลขโทรศัพท์ที่ห้องทำงาน อีเมล์หรือเครือข่ายสังคม จำนวนครั้งที่ผู้เรียนสามารถขาดเรียนได้ แนวทางการอุทธรณ์ผลคะแนน ตัวอย่างรายงาน แนวทางการจัดทำรายงาน ขอบข่ายเนื้อหาที่ออกสอบ ข้อกำหนดในการตัดสินผลคะแนน ประเภทของการสอบ สัดส่วนการให้คะแนน แนวทางการตัดสินผลคะแนน ชื่อผู้สอน และวันเวลาสอบ 3) นักศึกษาที่มีลักษณะการเข้าชั้นเรียนแตกต่างกันมีค่าเฉลี่ยการรับรู้ความสำคัญขององค์ประกอบของประมวลการสอนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001


คำสำคัญ

ประมวลการสอน การพัฒนาหลักสูตร เอกสารหลักสูตร