• วรนุช แหยมแสง
    : รองศาสตราจารย์ ดร. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
FULL TEXT

Abstract

        The purpose of this study was to develop a “21st century school teacher aptitude standardized test.” The standardized procedures covered steps from the construction of the test, validation, and application. The test’s content was a result of a literature review of the characteristics of teachers in the 21st century. Three groups of samples were employed in this study, namely, experts, education freshmen, and non-education freshmen. Using the Delphi method, the experts, comprising 14 academics on the 21st century education together with measurement and evaluation experts, validated the content of the test. Then, data were collected in two rounds from the education freshmen at 12 public universities in Bangkok Metropolis and its suburbs. The first batch of 1,369 education freshmen was used for the item-analysis and to confirm the reliability of the test, including any emerging factors and the subsequent validation of such factors. The second batch, 1,115 education freshmen, was used to examine the norms of the test. The third group of the subjects was 100 non-education freshmen who were compared with the second group (education freshmen) in order to investigate the validity of the test, using the known-groups method. The findings of the study were: (1) out of the 73 items validated by the experts, 59 items proved to be in congruence with the 21st century content. (2) An item-analysis of the 59 items revealed that 33 of them had the discriminatory power from 0.209 to 0.398. The 33-item test had the reliability of 0.777. The exploratory factor analysis of 33 items showed that the test consisted of 10 factors as follows: 1) being updated in technology (UT), 2) ethics toward learners (EL), 3) willingness to learn new knowledge along with the learners (WL), 4) learning technology along with the learners (LTL), 5) open-mindedness (OM), 6) creativity in applying technology to the teaching design (CTD), 7) leadership skills (LS), 8) accepting the problems of not knowing all the answers (AP), 9) accepting the need for life-long learning (AL), and 10) technology awareness together with student-oriented instruction (TSO). (3) confirmatory factor analysis of the 10 factors confirmed that they had a goodness of fit index (GFI) and the adjusted goodness of fit index (AGFI) of 0.95 and 0.94, respectively. The results of the t-test indicated that the coefficient of each factor was significantly different from 0 at the 0.05 level. (4) The analytical results of the norms of the test showed the lowest standard T-Score to be at 4.532 and the highest at 64.169. (5) The investigation of the validity using the known-groups method revealed that the mean of the test scores of the non-education students was significantly different, at the 0.05 level, from


Keyword

21st century teacher, school teacher aptitude, standardized test

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบทดสอบวัดแววความเป็นครูที่มีความเป็นมาตรฐานตั้งแต่ขั้นตอนการสร้าง การพัฒนาคุณภาพ ตลอดจนมาตรฐานของการนำไปใช้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้มี 3 ประเภท คือ ประเภทที่ 1 เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย นักวิชาการทางด้านครูในศตวรรษที่ 21 และนักวัดและประเมินผล จำนวน 14 คน เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ด้วยเทคนิค Delphi ซึ่งมีเนื้อหาในข้อสอบที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรม คุณลักษณะความเป็นครูในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่างประเภทที่ 2 คือ กลุ่มนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยปิดของรัฐในเขตกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล จำนวน 12 แห่ง โดยมีการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างประเภทนี้ 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 จำนวน 1,369 คน เพื่อวิเคราะห์หาคุณภาพของข้อสอบรายข้อ และทั้งฉบับ และวิเคราะห์องค์ประกอบใหม่ และยืนยันองค์ประกอบใหม่ของแบบทดสอบ ครั้งที่ 2 จำนวน 1,115 คน เพื่อศึกษาค่าเกณฑ์ปกติของแบบทดสอบ และกลุ่มตัวอย่างประเภทที่ 3 คือ กลุ่มนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่ไม่ใช่คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 100 คน เพื่อตรวจสอบความตรงแบบกลุ่มรู้ชัดของแบบทดสอบ โดยเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยที่ได้จากแบบทดสอบมาตรฐานวัดแววความเป็นครูในศตวรรษที่ 21 ระหว่างนักศึกษากลุ่มนี้กับกลุ่มนักศึกษาประเภทที่ 2 ผลการวิจัยในครั้งนี้ได้แบบทดสอบมาตรฐานวัดแววความเป็นครูในศตวรรษที่ 21 ที่มีความเป็นมาตรฐาน ดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์ความตรงตามเนื้อหาด้วยเทคนิค Delphi ได้ข้อสอบที่มีความตรงตามเนื้อหาแววความเป็นครูในศตวรรษที่ 21 จำนวน 59 ข้อ จาก 73 ข้อ 2. ผลการวิเคราะห์หาค่าอำนาจจำแนกรายข้อที่มีค่าตั้งแต่ 0.209 ถึง 0.398 จำนวน 33 ข้อ โดยมีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.777 และได้ผลการวิเคราะห์จัดองค์ประกอบใหม่ได้ 10 องค์ประกอบ คือ 1) ความเป็นผู้มีความทันสมัยในเทคโนโลยี 2) ความมีคุณธรรม เมตตาธรรมต่อศิษย์ 3) ใฝ่เรียนรู้สิ่งใหม่ไปพร้อมกับผู้เรียน 4) การเรียนรู้เทคโนโลยีไปพร้อมกับผู้เรียน 5) ความเป็นผู้มีจิตใจกว้าง ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้เรียน 6) ความเป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการประยุกต์เทคโนโลยีให้เข้ากับการสอน 7) ความมีทักษะผู้นำ 8) ยอมรับการเผชิญปัญหากับการไม่รู้ 9) การยอมรับว่าการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ทำได้ตลอดชีวิต 10) การเรียนรู้เท่าทันเทคโนโลยีไปพร้อมกับการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 3. ผลการวิเคราะห์ยืนยันองค์ประกอบทั้ง 10 องค์ประกอบ ได้ดัชนีความสอดคล้อง GFI และ AGFI เท่ากับ 0.95 และ 0.94 ตามลำดับ และค่าสัมประสิทธิ์บนองค์ประกอบทุกตัวมีนัยสำคัญทางสถิติทดสอบ t-test ที่ระดับ 0.05 4. ผลการวิเคราะห์หาค่าเกณฑ์ปกติของแบบทดสอบมาตรฐานวัดแววความเป็นครูในศตวรรษที่ 21 มีค่าคะแนนมาตรฐาน T ต่ำสุดและสูงสุดอยู่ที่ 4.532 และ 64.169 ตามลำดับ 5. ผลการตรวจสอบความตรงแบบกลุ่มรู้ชัดโดยเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนที่ได้จาก แบบทดสอบมาตรฐานวัดแววความเป็นครู ระหว่างกลุ่มนักศึกษาที่ไม่ใช่คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงกับกลุ่มนักศึกษาคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยปิดของรัฐ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 11 แห่ง พบว่ามี 5 มหาวิทยาลัยปิดของรัฐ ที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักศึกษากลุ่มที่ไม่ใช่คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยปิดของรัฐแห่งอื่น ๆ อีก 6 แห่ง ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
 


คำสำคัญ

ครูในศตวรรษที่ 21 แววความเป็นครู แบบทดสอบมาตรฐาน