• พัชราวดี วัฒนวิกย์กิจ
    : อาจารย์ ดร. ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • เพชรตะวัน จันทร์ขอนแก่น
    : ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • โสภณ บุญมีวิเศษ
    : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
FULL TEXT

Abstract

An anatomical characteristics of Asparagus racemosus Willd. was studied. Plant samples were collected from 4 Regional Campuses in Honour of His Majesty the King, Kanchanaburi, Surin, Nakhonphanom and Phrae Province. Roots, stems and leaves were cut both cross and long sections, and then were carried out using paraffin method. Each plant has shown similar characteristics. The differences can be summarized below. Root apex composes of root cap and apical meristem with amorphous parenchyma. There is one layer epidermis, cortical tissue and polyarch xylem with wide pith respectively. Exarch xylem was recorded, alternating with a few cells of phloem element. Root tissue from each study site is slightly different in substance accumulation in epidermal and cortical tissues, size of endodermis, size of vessel and pith area. In young stem, apical meristem has tunica 2-4 layers and corpus 5-7 layers. Many types of trichomes on epidermis were found. Few layers of parenchyma was filled in cortex, atactostele with narrow pith was found. In mature stem, the tissues were similar to young stem except trichomes were disappear and parenchyma were changed to sclerotic parenchyma. The different characters among the four areas are the amount of accumulation in epidermis and cortex, size of vessel elements and pith area. Leaves were tri-angled shape with one layer of epidermis. Mesophylls compose of palisade and spongy parenchyma which druse crystals were found in some cells. There are xylem on the abaxial and phloem in the middle, and surrounded by sclerenchyma. The different characters among the four areas are the size of vascular bundle, layer of mesophyll and the number of stomata. The results of this study show that anatomy of Asparagus racemosus Willd. from four areas are slightly different.


Keyword

Asparagus racemosus Willd., plant anatomy

บทคัดย่อ

การศึกษากายวิภาคศาสตร์ของรากสามสิบ (Asparagus racemosus Willd.) โดยศึกษาโครงสร้างภายในของรากสามสิบจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ 4 พื้นที่ คือ สาขาฯ จังหวัดกาญจนบุรี, สาขาฯ จังหวัดสุรินทร์, สาขาฯ จังหวัดนครพนม และสาขาฯ จังหวัดแพร่ ทั้งตัดตามขวาง และตามยาว ของส่วนต่างๆ คือ ราก ลำต้น และใบ ด้วยวิธีเทคนิคทางพาราฟิน พบว่า ลักษณะภายในส่วนต่างๆ ที่ศึกษาของรากสามสิบมีความคล้ายคลึงกัน มีบางส่วนที่แตกต่างกันดังนี้ราก ปลายสุดของรากมีหมวกราก (root cap) ประกอบด้วยเซลล์พาเรงคิมา (parenchyma) ที่ได้จากการแบ่งตัวของเนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย (apical meristem) เซลล์มีรูปร่างไม่แน่นอน รากอ่อน มีเนื้อเยื่อชั้นผิว (epidermis) ห่อหุ้มอยู่ส่วนนอกสุดของรากถัดเข้ามาเป็นเนื้อเยื่อคอร์เทกซ์ (cortex) ไซเลม (xylem) เป็นแบบเอกซ์อาร์กไซเลม (exarch xylem) แต่ละพื้นที่การศึกษามีความแตกต่างกันเล็กน้อย คือ การสะสมสารของผิวชั้นนอก สารสะสมของ คอร์เทกซ์ ความหนาของเอนโดเดอร์มิส ขนาดของเซลล์เวสเซล และพื้นที่ของไส้ใน (pith) ลำต้น ปลายยอดพบเนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย (apical meristem) ที่ประกอบด้วย ทูนิกา (tunica) 2-4 ชั้น และคอร์ปัส (corpus) 5-7 ชั้น ลำต้นที่มีการเจริญในระยะปฐมภูมิประกอบด้วยผิวชั้นนอก ที่มีระยางค์ (trichome) หลายแบบ เนื้อเยื่อชั้นในมีกลุ่มของเนื้อเยื่อลำเลียงเป็นแบบ atactostele มีไส้ในแคบ ลำต้นที่อายุมากขึ้นเซลล์พาเรงคิมาจะเปลี่ยนเป็นเซลล์ที่มีผนังหนาหรือ sclerotic parenchyma ทุกพื้นที่การศึกษา มีลักษณะที่แตกต่างกัน คือ สารสะสมของผิวชั้นนอก สารสะสมของคอร์เทกซ์ ขนาดของเซลล์เวสเซล และพื้นที่ของไส้ในใบ เมื่อตัดตามขวางพบเป็นรูปสามเหลี่ยมมีผิวชั้นนอกทั้ง 3 ด้านด้านละ 1 ชั้น ชั้นมีโซฟิลล์ (mesophyll) ประกอบด้วยแพลิเซดพาเรงคิมา (palisade parenchyma) และสปองจีพาเรงคิมา (spongy parenchyma) บางเซลล์สะสมผลึกรูปดาว (druse) บางเซลล์มีคลอโรพลาสต์ มีไซเลมอยู่ทางด้านไกลแกน และโฟลเอ็มอยู่ตรงกลาง ส่วนของใบมีความแตกต่างกันเล็กน้อย คือ ขนาดของมัดท่อลำเลียง ความหนาของชั้นมีโซฟิลล์ และจำนวนปากใบที่มีมากน้อยต่างกัน การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าลักษณะกายวิภาคศาสตร์ของรากสามสิบแต่ละพื้นที่มีความคล้ายคลึงกันมากโดยมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น


คำสำคัญ

รากสามสิบ กายวิภาคศาสตร์ของพืช