• แวคอดีเย๊าะ มะรอแม
    : หลักสูตรการจัดการสิ่งแวดล้อม คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
FULL TEXT

Abstract

In this study, the researcher collected data from five tourist attractions in Pattani province: Krue Se Mosque; Sai Khao Waterfall National Park; the Nature Education Center for Mangroves; Talo Kapo Beach; and Yarang Ancient Town. Both the quantitative and qualitative research approaches were used for studying the opinions of local people and tourists using individual interviews in an integrated manner. Findings are as follows: (1) All five tourist attractions for ecotourism exhibited readiness and propriateness at a high level in the management of ecotourism in the aspects of location, characteristics of areas, and natural resources. Social and economic conditions were appropriate at a moderate level. (2) The highest proportion exhibited opinions that the management of the resources for ecotourism was the duty of officials only. Tourists expressed their opinions that it was necessary that public agencies provided knowledge and understanding to tourists regarding ecotourism. (3) Tourism training projects should be prioritized to be supported and promoted. (4) Tourism activities by communities received consent from the members of the sample population at the highest level. The integration must be with Islam in order to lead to practices in accordance with religious preaching.


Keyword

ecotourism, Pattani province, sustainable development, The ASEAN Cooperative Framework

บทคัดย่อ

 การศึกษาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของจังหวัดปัตตานีภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียน ผู้ศึกษาได้รวบรวมข้อมูลจากแหล่งท่องเที่ยวในเขตพื้นที่จังหวัดปัตตานี 5 แห่ง ได้แก่ มัสยิดกรือเซะ อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว ศูนย์ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน หาดตะโละกาโปร์ และเมืองโบราณยะรัง ใช้วิธีการศึกษาทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาความคิดเห็นของประชาชนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวร่วมกับการสัมภาษณ์แบบรายกรณี โดยการผสมผสานในรูปแบบบูรณาการ ผลการศึกษา พบว่า 1) แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศทั้ง 5 แห่งมีความพร้อมและเหมาะสมในระดับสูงในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในด้านสถานที่ ลักษณะของพื้นที่ ทรัพยากรธรรมชาติ ยกเว้น สภาพสังคม และสภาพเศรษฐกิจ ที่มีความเหมาะสมในระดับปานกลาง 2) ประชาชนส่วนใหญ่มีความเห็นว่า การจัดการทรัพยากรเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่เท่านั้นส่วนนักท่องเที่ยวมีความเห็นว่า จำเป็นที่หน่วยงานภาครัฐต้องให้ความรู้ความเข้าใจแก่นักท่องเที่ยวเรื่องเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 3) โครงการจัดอบรมด้านการท่องเที่ยว มีความสำคัญเป็นอันดับแรกที่ต้องได้รับการส่งเสริมและสนับสนุน และ 4) กิจกรรมท่องเที่ยวโดยชุมชน ได้รับความเห็นชอบจากกลุ่มตัวอย่างมากที่สุด และจะต้องมีการบูรณาการอิสลาม  ร่วมด้วย เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติตามหลักคำสอนของศาสนา


คำสำคัญ

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จังหวัดปัตตานี การพัฒนาที่ยั่งยืน กรอบความร่วมมืออาเซียน