• วรินทรา ศิริสุทธิกุล
    : อาจารย์ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
  • อภินัทธ์ จิระวัฒนา
    : หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
FULL TEXT

Abstract

In this study, the researchers examine the service marketing mix, lifestyles, and the service quality related to the travel behavior of Thai tourists at Bang Phli Floatiing Market in Samut Prakan province. The methods of purposive sampling and convenience sampling were used. The sample population consisted of 400 Thai tourists visiting Bang Phli Floating Market in Samut Prakan province. A questionnaire was used as a research instrument to collect data. Data were analyzed using frequency distribution, mean, and standard deviation. The hypothesis test was conducted using the inferential statistics of independent t test, one-way analysis of variance (ANOVA), and Pearson’s product moment correlation coefficient. The hypothesis test found the following. (1) The tourists aged 20 years or lower who were students with an average monthly income of 15,000 baht or lower exhibited travel behavior in the aspect of frequency of product purchase. (2) The tourists aged 41 years and higher with the status of divorce, widow or separated, having a personal business or with the level of education higher than a bachelor’s degree and an average monthly income of 55,000 baht exhibited the travel behavior in the aspect of travel expenses. (3) The service marketing mix overall with a low level of a direct relationship exhibited the relationship with travel behavior in the aspects of frequency of product purchase and travel expenses at the statistically significant level of .01 and .0 5, respectively. (4) The patterns of lifestyles in the aspects of activities, interests, and opinions with a low level of direct relationship exhibited the relationship with travel behavior in the aspect of travel expenses at the statistically significant level of .01. (5) The service quality in the aspects of trustworthiness, confidence, physical characteristics, attention, and responsiveness with a low level of direct relationship exhibited the relationship with travel behavior in the aspects of frequency of product purchase and travel expenses at the statistically significant level of .01 and .05, respectively.


Keyword

lifestyle, service marketing mix, service quality, travel behavior

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดบริการ รูปแบบการดำเนินชีวิต และคุณภาพการให้บริการที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยวตลาดน้ำโบราณบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ของนักท่องเที่ยวชาวไทย ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและแบบสะดวก กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวตลาดน้ำโบราณบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การ แจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติเชิงอนุมาน สถิติ Independent t-test ทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Analysis of Variance: One Way ANOVA) และสถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson product moment correlation coefficient) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1. นักท่องเที่ยวที่มีอายุ ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 20 ปี มีอาชีพ นักเรียน/นิสิต/นักศึกษา และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 15,000 บาทมีผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยว ด้านความถี่ในการซื้อสินค้า 2. นักท่องเที่ยวที่มีอายุ 41 ปีขึ้นไป มีสถานภาพ หย่าร้าง/หม้าย/แยกกัน มีอาชีพ ธุรกิจส่วนตัว มีระดับการศึกษา สูงกว่าปริญญาตรี และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 55,000 บาทขึ้นไปมีผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยว ด้านค่าใช้จ่ายในการมาท่องเที่ยว 3. ส่วนประสมทางการตลาดบริการโดยรวมมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน และระดับความสัมพันธ์ต่ำ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยว ด้านความถี่ในการซื้อสินค้าและด้านค่าใช้จ่ายในการมาท่องเที่ยว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ 4. รูปแบบการดำเนินชีวิตด้านกิจกรรม ด้านความสนใจ และด้านความคิดเห็นมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน และระดับความสัมพันธ์ต่ำ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยว ด้านค่าใช้จ่ายในการมาท่องเที่ยว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ตามลำดับ 5. คุณภาพการให้บริการด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจ ด้านการให้ความมั่นใจ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านความเอาใจใส่ และด้านการตอบสนองมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน และระดับความสัมพันธ์ต่ำ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยว ด้านความถี่ในการซื้อสินค้าและด้านค่าใช้จ่ายในการมาท่องเที่ยว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ


คำสำคัญ

รูปแบบการดำเนินชีวิต ส่วนประสมทางการตลาดบริการ คุณภาพการให้บริการ พฤติกรรมการท่องเที่ยว