• กุลชญา วงษ์เพ็ญ
    : รองศาสตราจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
FULL TEXT

Abstract

In this study, the researcher examines (1) the group process for life skills development of selected Matthayom Sueksa Six students at the Demonstration School of Ramkhamhaeng University (DSRU); and compares (2) the group process for the life skills development of these students as classified by gender and academic achievement. The sample population consisted of 170 Matthayom Sueksa Six students at DSRU in the second semester of the academic year 2017 using the simple random sampling method. The sample size was determined using the table of Krejie and Morgan (1970) at the reliability level of .05 from the research population of 289 students. The research instruments consisted of the following: (1) a plan of activities focusing on the group process for life skills development; (2) a plan of activities which did not focus on the group process for life skills development; and (3) a form used to measure life skills. Data were collected using a form for measuring life skills as adapted from a form of the Department of Mental Health comprising nine components of thirty items with the reliability of .827. Data were analyzed using mean (M) and standard deviation (SD). The technique of t test was also employed. Findings showed that the students engaged in the learning activities with the focus on the group process for life skills development (the experimental group) exhibited life skills at a higher level (M = 4.29) than those not engaged in learning activities with the focus on the group process for life skills development (the control group) with the mean being 3.72. The experimental group and the control group exhibited differences in life skills at the statistically significant level of .05. Differences in gender exhibited differences in life skills at the statistically significant level of .05. Differences in academic achievement exhibited differences in life skills at the statistically significant level of .05.


Keyword

activities that do not focus on group process, group process, life skills

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการกลุ่มเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง และ 2) เปรียบเทียบกระบวนการกลุ่มเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง จำแนกตามเพศ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประชากร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหงที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ได้มาด้วยการสุ่มแบบง่าย (Simple Random Sampling) และกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูป Krejeie and Mogan (1970) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 ของประชากร 289 คน ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 170 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดกิจกรรมที่เน้นกระบวนการกลุ่มเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต 2) แผนการจัดกิจกรรมที่ไม่เน้นกระบวนการกลุ่ม เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต และ 3) แบบวัดทักษะชีวิต การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยใช้แบบวัดทักษะชีวิตที่ปรับปรุงมาจาก แบบวัดของกรมสุขภาพจิต 9 องค์ประกอบ จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น = .827 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าเฉลี่ย (x ̅) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่า (t-test)  ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการกลุ่มเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต (กลุ่มทดลอง) มีทักษะชีวิตมากกว่า (x ̅ = 4.29) นักเรียนที่ไม่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการกลุ่มเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต (กลุ่มควบคุม x ̅ = 3.72) กลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม มีทักษะชีวิตต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เพศต่างกัน มีทักษะชีวิตต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกัน มีทักษะชีวิตต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


คำสำคัญ

กิจกรรมที่ไม่เน้นกระบวนการกลุ่ม กระบวนการกลุ่ม ทักษะชีวิต