• ธัชพงศ์ เศรษฐบุตร
    : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • อัครเดช เกตุฉ่ำ
    : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาการประเมินและวัดผลทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
FULL TEXT

Abstract

           In this descriptive research, the researchers have two objectives: study (1) the level of the intention to stay of employees in the industrial sector of the Bangkok Metropolitan Region; and compare (2) the level of intention to stay of the employees in various departments in the organizations under study. The sample population consisted of 325 employees working in departments of organizations in the industrial sector of the Bangkok Metropolitan Region. The research instruments consisted of a questionnaire on demographic data and a questionnaire eliciting the intention to stay. Data were descriptively analyzed using frequency, percentage, mean, and standard deviation. The analysis of variance was also employed. Findings are as follows: 1. The level of the intention of the employees under study to stay exhibited the mean of 4.32, which was at a moderate level. 2. The comparison of the level of the intention to stay of the employees in various  departments in the organizations was found to exhibit differences in the means of the intention to stay at the statistically significant level of .05.


Keyword

Intention to stay, Industrial Officers, human resource management

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์สองประการได้แก่ 1) เพื่อศึกษาระดับความตั้งใจ อยู่ในงานของพนักงานในภาคอุตสาหกรรมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล2)เพื่อเปรียบเทียบระดับความตั้งใจอยู่ในงานของพนักงานในภาคอุตสาหกรรมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลระหว่างฝ่ายในองค์การกลุ่มตัวอย่างคือพนักงานที่ทำงานในฝ่ายของหน่วยงานในภาคอุตสาหกรรมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวน 325 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลแบบสอบถามความตั้งใจอยู่ในงาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณาประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความแปรปรวน  ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลการศึกษาระดับความตั้งใจอยู่ในงานของพนักงานในภาคอุตสาหกรรมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอยู่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.32 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง  2) ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับความตั้งใจอยู่ในงานของพนักงานในภาคอุตสาหกรรมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลระหว่างฝ่ายในองค์การพบว่าค่าเฉลี่ยความตั้งใจอยู่ในงานมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

 


คำสำคัญ

ความตั้งใจอยู่ในงาน  พนักงานในภาคอุตสาหกรรม  การบริหารทรัพยากรมนุษย์