• บัณฑิตย์ เต็งเจริญกุล
    : สาขาวิชาอายุรศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • มานพ ศรีอุทธา
    : สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์และวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (วิทยาเขตหนองคาย)
  • ลำใย ณีรัตนพันธุ์
    : สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เมทินี อินทุยศ
    : สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
FULL TEXT

Abstract

           In this study, the researchers analyze the water quality i.e. temperature, potential of hydroyenion (pH), dissolved oxygen (DO), biochemical oxygen demand (BOD), electrical conductivity (EC), and concentrations of nine heavy metals i.e. arsenic (As), lead (Pb), cadmium (Cd), chromium (Cr), copper (Cu), steel (Fe), manganese (Mn), nickel (M), and zinc (Zn) in water, sediments, and Channa striata in the reservoir affected by landfill leachate from Khon Kaen City Municipality. Six samples of water and sediments were collected as well as five samples of C. striata bred in floating baskets for three months.The heavy metal concentrations were analyzed using inductively coupled plasma optical emission spectrometry (ICP-OES). The study of the water quality showed that all the parameters were at the standard level of surface water source type 3. The quantities of Cd, Cr, Cu, Fe, Mn, Ni, Pb, and Zn in the water as well as in the sediments did not exceed the standards. However, As exceeded the standards in the water and in the sediments. The heavy metal concentrations in C. striata did not exceed the standards for food with contaminants. 


Keyword

heavy metal, leachate, snakehead fish

บทคัดย่อ

       การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณภาพน้ำ ได้แก่ อุณหภูมิ ค่าความเป็นกรด-ด่าง ค่าการละลายของออกซิเจนในน้ำ ค่าความต้องการออกซิเจนทางชีวเคมี  ค่าการนำไฟฟ้า และการปนเปื้อนของโลหะหนัก 9 ชนิด ได้แก่ สารหนู ตะกั่ว แคดเมียม โครเมียม ทองแดง เหล็ก แมงกานีส นิกเกิล และสังกะสีในน้ำ ตะกอนดิน และปลาช่อน บริเวณแหล่งน้ำที่ได้รับผลกระทบจากน้ำชะมูลฝอยเทศบาลนครขอนแก่น เก็บตัวอย่างน้ำและตะกอนดินจำนวน 6 ตัวอย่าง และปลาช่อนที่เพาะเลี้ยงในกระชังระยะเวลา 3 เดือน จำนวน 5 ตัวอย่าง นำมาวิเคราะห์ปริมาณโลหะหนักด้วยเครื่อง Inductively Coupled Plasma Optical Emission Spectrometry (ICP-OES) ผลการศึกษาคุณภาพน้ำพบว่าทุกพารามิเตอร์มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานแหล่งน้ำผิวดินประเภทที่ 3 ปริมาณแคดเมียม โครเมียม ทองแดง เหล็ก แมงกานีส นิกเกิล ตะกั่ว และสังกะสี ในน้ำและตะกอนดินมีค่าไม่เกินมาตรฐาน ส่วนสารหนูมีค่าเกินมาตรฐานทั้งในน้ำ และตะกอนดิน ปริมาณโลหะหนักในปลาช่อนมีค่าไม่เกินมาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน


คำสำคัญ

น้ำชะมูลฝอย ปลาช่อน โลหะหนัก