• กิตติมา เก่งเขตรกิจ
    : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • อรอุมา สอนง่าย
    : อาจารย์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • เกียรติศักดิ์ ล้วนมงคล
    : อาจารย์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
FULL TEXT

Abstract

In this research investigation, the researcher examines the problems of pre-service teachers of Art Education at the Faculty of Education, Ramkhamhaeng University in the first semester of the academic year 2019. The research instrument was a three-part questionnaire. Part One was the demographic data of the teachers under study. Part Two was a rating scale questionnaire eliciting problems related to field experience in the teaching profession of Art Education. Part Three concerned other opinions regarding field experience in the teaching profession.

Findings are as follows. The first aspect was the factor affecting performance. The problem found at the highest level was the activities performed in a school (M = 4.11). The second aspect was the students. The problem found at the highest level was the students’ lack of interest in learning media (M = 3.89). The third aspect was the teachers’ workload. The problem found at the highest level was participation in school activities (M = 4.44). An opinion affecting the field experience of the teachers under investigation were that they were of the opinion that there was a lack of teachers in the field of Art Education. The school had an art learning area consisting of visual arts, music, and performing arts. However, pre-service teachers were assigned by their mentors to teach subjects or learning areas that were not relevant to their majors.


Keyword

Art Education Students, Field Experience in Teaching Profession

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาศิลปศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาศิลปศึกษา ส่วนที่ 2 คือ แบบสอบถามปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาศิลปศึกษาเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า และส่วนที่ 3 ความคิดเห็นอื่นๆเกี่ยวกับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ด้านที่ 1 ด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน พบว่า ปัญหาที่พบมากที่สุด คือ การปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับโรงเรียน ( =4.11) ด้านที่ 2 ด้านผู้เรียน พบว่า ปัญหาที่พบมากที่สุด คือ ความสนใจของผู้เรียนต่อสื่อการเรียนรู้ ( =3.89) ด้านที่ 3 ด้านภาระงานครู พบว่า ปัญหาที่พบมากที่สุด คือ มีการร่วมกิจกรรมของโรงเรียน ( =4.44) ความคิดเห็นอื่นๆที่ส่งผลต่อการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาสาขาวิชาศิลปศึกษา พบว่า นักศึกษาสาขาวิชาศิลปศึกษา มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการขาดแคลนผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ตรงสาขา เนื่องจากในโรงเรียนมีกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ที่ประกอบด้วยสาระทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์ นักศึกษาได้รับมอบหมายจากครูพี่เลี้ยงให้ช่วยสอนในวิชาหรือสาระที่ไม่ตรงกับสาขาตนเอง


คำสำคัญ

นักศึกษาสาขาวิชาศิลปศึกษา การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู