• กรีธา ธรรมเจริญสถิต
    : อาจารย์ประจำ สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • จันทนา อินสระ
    : อาจารย์ประจำ สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • นวภรณ์ ศรีสราญกุลวงศ์
    : อาจารย์ประจำ สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • พีระพล ชัชวาลย์
    : อาจารย์ประจำ สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ฟาริดา วิรุฬหผล
    : อาจารย์ประจำ สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ภานุวัฒน์ กาหลิบ
    : อาจารย์ประจำ สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • มารุต พิเชษฐวิทย์
    : อาจารย์ประจำ สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
FULL TEXT

Abstract

      In this creative research, the researchers aim to develop motion graphic multimedia to enhance the learning of Lai Sue Thai. The research instrument was developed to be a five-minute, three-dimensional video as a medium for the learning of thirty-nine Lai Sue Thai glyphs by first to fourth year university students. The video was developed with computer software. Then, the file was exported in avi to be used with a computer operating system. A questionnaire based on user experience (UX) was used to elicit the experience of the members of the sample population. They were thirty students obtained by using the method of simple random sampling by drawing lots. The survey was conducted to determine their level of satisfaction with the use of the media. Findings showed that the members of the sample population exhibited satisfaction with the multimedia developed for learning Lai Sue Thai at a high to the highest level in five aspects: (1) easy to understand; (2) beauty; (3) clarity; (4) content appropriateness; and (5) appropriate presentation duration.


Keyword

Lai Sue Thai, Multimedia

บทคัดย่อ

         งานวิจัยสร้างสรรค์ชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อมัลติมีเดียประเภทโมชันกราฟิก เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตัวอักษรลายสือไทยซึ่งได้มีการพัฒนาเครื่องมือวิจัยเป็นวีดิทัศน์แบบแสดงภาพสามมิติความยาว 5 นาที เพื่อใช้เป็นสื่อในการเรียนรู้ตัวอักษรลายสือไทยจำนวน 39 ตัวอักษรแก่นักศึกษาระดับชั้นปีที่ 1-4 มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง  โดยการดำเนินการการพัฒนาวิดีโอด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปได้ทำการ export ไฟล์เป็น avi เพื่อให้รองรับกับระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ หลังจากนั้นได้ทำการออกแบบสอบถามโดยใช้แนวคิดของ UX (User experience) เพื่อทำการสอบถามเกี่ยวกับประสบการณ์ใช้งานของกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษาที่ได้สุ่มตัวอย่างแบบง่ายด้วยการจับฉลากมาจำนวน 30 คน เพื่อสำรวจความพึงพอใจต่อการใช้สื่อผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ลายสือไทยในระดับมากถึงมากที่สุด 5 ด้านได้แก่ 1) เข้าใจได้ง่าย 2) สวยงาม 3) มีความชัดเจน 4) มีความเหมาะสมทางด้านเนื้อหา และ 5) ระยะเวลานำเสนอมีความเหมาะสม


คำสำคัญ

ลายสือไทย มัลติมีเดีย