• จิตรภานุ อินทวงศ์
    : เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปปฏิบัติการ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ญนันทพร กลั่นเจริญ
    : เจ้าหน้าที่วิจัยปฏิบัติการ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ธงชัย ช่วยสถิตย์
    : เจ้าหน้าที่วิจัยปฏิบัติการ สถาบันวิจัยสัตว์ในภูมิภาคเขตร้อน มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ธวัชชัย ทวีตา
    : เจ้าหน้าที่วิจัยปฏิบัติการ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • พรชัย วงศ์วาสนา
    : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ และรองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • มณี อัชวรานนท์
    : รองศาสตราจารย์ ดร. ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ยิ่งยง เมฆลอย
    : อาจารย์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์ และผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสัตว์ในภูมิภาคเขตร้อน มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • แพรพิไล เจริญสิทธิ์กองคำ
    : เจ้าหน้าที่วิจัยปฏิบัติการ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
FULL TEXT

Abstract

Deer farming business is one of the alternative agriculture for agriculturists who have been already invested with other agricultures. These people who are interested in deer farming investment  will consider the amount of money invested in food for feeding deer as the first priority. Ramkhamhaeng University Deer Farm researched whether low cost roughages would affect the productivity which we used the body weight as the indicator or not in order to be the basic information for the investment in deer farming business. Sixty Rusa deer and 60 Sika deer, aged 3 years with similar body weight were experimented. Among 60 deer of each species were divided into 2 groups, group 1: 30 deer and group 2: 30 deer. Both groups have been fed with concentrated feed/ fermented Napier grass/ molasses/ and dry Pangola grass for 6 months from April – September 2018. The experiments were started in October 2018 : group 1 of each species was fed with the same food as before but group 2 of each species was fed with concentrated feed/ fermented Napier grass/ molasses/ and rice straw for 6 month from October 2018 – March 2019. The body weight of 120 deer were measured before and after the experiments. The results showed that the body weight of both Rusa deer and Sika deer group 2 were not significantly different from group 1 in spite of the difference of food price. A Rusa deer of group 1 consumed 13.05 Bahts /day and a Sika deer of group 1 consumed 11.03 Bahts/day. After the experiment of changing food from dry Pangola grass to rice straw of group 2, a Rusa deer of group 2 consumed 7.99 Bahts /day and a Sika deer of group 2 consumed 6.98 Bahts/day. These show that the usage of low cost roughages to feed deer does not affect the productivity of deer.


Keyword

rice straw, Rusa deer, Sika deer

บทคัดย่อ

การทำธุรกิจฟาร์มกวางเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับเกษตรกรที่ต้องการมีรายได้เสริมร่วมกับการทำการเกษตรอื่น ๆ เงินลงทุนในเรื่องของอาหารที่ใช้เลี้ยงกวางเป็นปัจจัยที่เกษตรกรหรือผู้สนใจลงทุนเลี้ยงกวางจะคำนึงถึงเป็นอันดับแรกที่จะใช้พิจารณาก่อนดำเนินการทำธุรกิจฟาร์มกวาง ฟาร์มกวางมหาวิทยาลัยรามคำแหง
จึงดำเนินการวิจัยเพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นให้กับเกษตรกรผู้สนใจลงทุนทำฟาร์มกวาง โดยทดลองว่า เมื่อใช้อาหารหยาบที่มีต้นทุนต่ำในการเลี้ยงกวาง จะทำให้ผลผลิตที่ได้จากการทำฟาร์มกวาง ซึ่งในที่นี้ คือ น้ำหนักตัวกวางเป็นตัวชี้วัด แตกต่างจากที่เลี้ยงกวางด้วยอาหารที่มีต้นทุนสูงกว่าหรือไม่ จากการทดลองในกวางอายุ 3 ปี 2 ชนิด คือ กวางรูซ่าและกวางซิก้า ชนิดละ 60 ตัว คัดเลือกกวางแต่ละชนิดก่อนนำมาทดลองทั้ง 60 ตัวนั้นให้มีน้ำหนักใกล้เคียงกัน แบ่งกวางทั้ง 2 ชนิด ๆ ละ 60 ตัวเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 30 ตัว กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ให้กินอาหารข้น/หญ้าเนเปียร์หมัก/น้ำตาล/และหญ้าแพงโกล่าแห้ง ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน 2561 และเมื่อเริ่มการทดลองในเดือนตุลาคม 2561 ถึงเดือนมีนาคม 2562 ให้กลุ่มที่ 1 ของกวางทั้ง 2 ชนิด กินอาหารเหมือนเดิม คือ ให้กินอาหารข้น/หญ้าเนเปียร์หมัก/น้ำตาล/และหญ้าแพงโกล่าแห้ง ส่วนกลุ่มที่ 2 ของกวางทั้ง 2 ชนิด ให้กินอาหารข้น/หญ้าเนเปียร์หมัก/น้ำตาล/และฟางข้าว
ชั่งน้ำหนักตัวทั้งก่อนและหลังการทดลอง จากการทดลองพบว่า น้ำหนักตัวของกวางทั้ง 2 ชนิดเมื่อเดือนมีนาคม 2562 ของกวางกลุ่มที่ 2 ไม่แตกต่างจากของกวางกลุ่มที่ 1 ทั้งที่ราคาอาหารของกวางกลุ่มที่ 1 ที่ใช้เลี้ยงกวางรูซ่าเฉลี่ย 13.05 บาท/ตัว/วัน ส่วนของกวางซิก้าเฉลี่ย 11.03 บาท/ตัว/วัน แต่เมื่อเปลี่ยนมาใช้ฟางข้าวในการทดลองในกวางกลุ่มที่ 2 ราคาอาหารที่ใช้เลี้ยงกวางรูซ่าเฉลี่ยลดลงเหลือ  7.99 บาท/ตัว/วัน ส่วนของกวางซิก้าลดลงเหลือ 6.98 บาท/ตัว/วัน แสดงว่า การเลือกใช้พืชอาหารในการเลี้ยงกวางที่มีราคาถูกกว่า ผลผลิตที่ได้จากการเลี้ยงกวางไม่แตกต่างจากการใช้พืชอาหารที่มีราคาแพงกว่า


คำสำคัญ

ฟางข้าว กวางรูซ่า กวางซิก้า