• สุภาพร นนทนำ
    : อาจารย์ สาขาสถิติประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
FULL TEXT

Abstract

           In this thesis, the researcher examines the demographic factors and the behaviors of tourists on community-based tourism; analyzes the components of the factors affecting these tourists; analyzes the differences in the demographic factors affecting the decisions of the tourists under study on community-based tourism; and analyzes the relationships of the factors affecting the decisions of the tourists under investigation on community-based tourism in Nakhon Nayok province. A questionnaire was used as a research instrument to collect data from 400 tourists visiting Thung Na Mui Bridge. The statistics used in the data analysis were frequency, percentage, mean, and standard deviation. The techniques of factor analysis, independent t test, one-way analysis of variance (ANOVA), and multiple regression analysis were also employed. Findings are as follows: 1. The highest proportion of the questionnaire respondents were females, aged between 17 and 36 years with a bachelor’s degree. They worked as company employees having a monthly income between 15,000 and 25,000 baht. Their domicile was in the Bangkok Metropolitan Region. 2. In regard to tourism behaviors, it was found that the respondents’ major objective for tourism was for recreation. They used personal vehicles for travel. They traveled with friends or colleagues. The travel periods were on Saturdays for one or two hours. In regard to the number of visiting times, it was found that they came for the first time. The expense of one journey was less than 1,000 baht. They received tourism information from websites. The problems in the tourist attractions were the difficulties in finding the location of ATM machines and insufficient parking spaces. They liked the location for picture taking at the highest level. 3. The results of the variable input and the composition of the components found that there were forty-one variables that could be organized into eight components with an eigen value exceeding 1.0. All of these eight components could explain the total variance of all the variables at 68.129 percent. These eight components were (1) service; (2) personnel; (3) place; (4) values and lifestyles; (5) tourist information centers; (6) price; (7) incentives; and (8) the environment. 4. The factors affecting the tourists’ decisions on community-based tourism regarding tourist destinations enabled respondents to make decisions to travel at a high level. At the highest level was the aspect of values and lifestyles. Next in descending order was the aspect of personnel. The lowest level was the aspect of service. 5. The comparison of the service factors found that the variable influencing the decision to travel at the highest level was income. Next in descending order was occupation. The lowest level was domicile. The personnel factor found that the variable influencing the decision to travel at the highest level was age. Next in descending order was educational level. The factor of values and lifestyles found that the variable influencing the decision to travel at the highest level was occupation. Next in descending order was age. The lowest level was income. 6. The multiple regression analysis found that the factors of service; values and lifestyles; tourist information centers; incentives; and location affected the tourists’ decisions on community-based tourism at the statistically significant level of .05. They could predict the decisions to travel at 16.4 percent. The factor of service (β=0.232, sig.=0.000) affected the decision to travel at the highest level. Next in descending order were the factors of values and lifestyles (β=0.204, sig.=0.000); tourist information centers (β = 0.183, sig.=0.000); incentives (β =0.149, sig.=0.001); and location (β =0.114, sig.=0.014). The factors not affecting the decision to travel were price, the environment; and personnel. The regression equation appropriate for an estimate of the decision level of tourists on community-based tourism and the factor of marketing mix was the following   = 54.688 + 3.941A + 3.466D + 3.110E + 2.542G + 1.939C. A was the factor of service. D was the factor of values and lifestyles. E was the factor of tourist information centers. G was the factor of incentives. C was the factor of location.

 

 


Keyword

community-based tourism, decision making, marketing mix

บทคัดย่อ

        การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์และทางด้านพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชน  วิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชน วิเคราะห์ปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ที่แตกต่างมีผลต่อปัจจัยการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชนและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชนกรณีศึกษา: จังหวัดนครนายก  การวิจัยนี้ใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปท่องเที่ยวสะพานทุ่งนามุ้ย เป็นแบบสอบถาม จำนวน 400 คน สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิเคราะห์องค์ประกอบการวิเคราะห์ค่าสถิติทีแบบสองกลุ่มอิสระกันการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ  ผลการวิจัยพบว่า (1)  ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 17-36 ปี ระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน รายได้ต่อเดือนอยู่ระหว่าง 15,000 – 25,000 บาท และส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล (2) พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์หลักในการท่องเที่ยวเพื่อความเพลิดเพลินพักผ่อนหย่อนใจ เลือกใช้ยานพาหนะเป็นรถยนต์ส่วนตัวในส่วนของลักษณะการเดินทางเลือกมาท่องเที่ยวกับเพื่อน/เพื่อนร่วมงาน เลือกใช้เป็นช่วงเวลาท่องเที่ยวในวันเสาร์  มีเวลาในการท่องเที่ยว 1-2 ชั่วโมง จำนวนครั้งในการท่องเที่ยวส่วนใหญ่มาเป็นครั้งแรก ค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการมาท่องเที่ยว 1 ครั้ง ต่ำกว่า 1,000 บาท  มีการรับข้อมูลข่าวสารของแหล่งท่องเที่ยวส่วนใหญ่จากเว็บไซต์   โดยปัญหาของแหล่งท่องเที่ยวคือ ตู้ ATM หายาก  ที่จอดรถไม่เพียงพอ  และมีการชื่นชอบบริเวณจุดถ่ายภาพมากที่สุดของแหล่งท่องเที่ยว  (3) ผลจากการจัดตัวแปรเข้าองค์ประกอบและการตั้งชื่อองค์ประกอบพบว่า ตัวแปรที่ใช้ในการวิเคราะห์มีทั้งหมด 41 ตัวแปร สามารถจัดองค์ประกอบได้จำนวน 8 องค์ประกอบ มีค่าไอแกนเกิน 1.0  ซึ่งแสดงว่าแต่ละองค์ประกอบสามารถอธิบายความผันแปรของตัวแปรได้ทั้ง 41 ตัวแปร  ซึ่งทั้ง 8 องค์ประกอบสามารถอธิบายความแปรปรวนรวมของตัวแปรทั้งหมดได้ร้อยละ 68.129  โดยองค์ประกอบที่ 1  ด้านการบริการ องค์ประกอบที่2 ด้านบุคคล องค์ประกอบที่3 ด้านสถานที่  องค์ประกอบที่ 4 ด้านค่านิยมและรูปแบบการดำรงชีวิต องค์ประกอบที่ 5 ด้านแหล่งข้อมูลการ องค์ประกอบที่ 6   ด้านราคา องค์ประกอบที่ 7  ด้านสิ่งจูงใจ และองค์ประกอบที่ 8 ด้านสภาพแวดล้อม (4) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชนของแหล่งท่องเที่ยว มีส่วนทำให้ตัวแทนผู้ตอบแบบสอบถามตัดสินใจมาท่องเที่ยวอยู่ในระดับมาก โดยด้านค่านิยมและรูปแบบการดำรงชีวิต เป็นอันดับที่ 1 รองลงมา คือ ด้านบุคคล เป็นอันดับที่2  และอันดับสุดท้าย คือ ด้านการบริการ (5) ผลการเปรียบเทียบปัจจัยด้านบริการตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวมากที่สุดคือ รายได้ รองลงมาคือ อาชีพ และน้อยที่สุดคือ ภูมิลำเนา  ปัจจัยด้านบุคคลตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวมากที่สุดคือ อายุ รองลงมาคือ ระดับการศึกษา และปัจจัยด้านค่านิยมและรูปแบบการดำรงชีวิตตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวมากที่สุดคือ อาชีพ รองลงมาคือ อายุ และน้อยที่สุดคือ รายได้  (6)  ผลการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุพบว่า ปัจจัยด้านบริการ ปัจจัยด้านค่านิยมและรูปแบบการดำรงชีวิต ปัจจัยด้านแหล่งข้อมูลการท่องเที่ยว  ปัจจัยด้านสิ่งจูงใจ และปัจจัยด้านสถานที่  ส่งผลต่อตัดสินใจของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยร่วมกันทำนายความการตัดสินใจท่องเที่ยวคิดเป็นร้อยละ 16.4  โดยที่ปัจจัยบริการ(β= 0.232, sig. =0.000) ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ปัจจัยค่านิยมและรูปแบบการดำรงชีวิต (β =0.204, sig.=0.000) ปัจจัยด้านแหล่งข้อมูลการท่องเที่ยว(β=0.183, sig.=0.000)  ปัจจัยด้านสิ่งจูงใจ(β =0.149, sig. =0.001)  และปัจจัยด้านสถานที่(β =0.114, sig. =0.014) ส่วนปัจจัยที่ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยว ได้แก่ ด้านราคา ด้านสภาพแวดล้อม และด้านบุคคล  สมการถดถอยที่เหมาะสมในการประมาณระดับตัดสินใจของนักท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชนกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดได้สมการถดถอยในการพยากรณ์ ดังนี้= 54.688 + 3.941A+ 3.466D + 3.110E+2.542G+1.939C  โดย  A คือ ปัจจัยด้านการบริการ  D คือ ปัจจัยด้านค่านิยมและรูปแบบการดำรงชีวิต  E คือ ปัจจัยด้านแหล่งข้อมูลการท่องเที่ยว  G  คือ ปัจจัยด้านด้านสิ่งจูงใจ และ C คือ  ปัจจัยด้านสถานที่

 

 


คำสำคัญ

การท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชน การตัดสินใจ  ส่วนประสมทางการตลา