• พนารัตน์ แสงปัญญา
    : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
FULL TEXT

Abstract

           Aggregates have a volume of 70-80% of the total amount of concrete mixture. The aggregates are transported to the concrete plants which create costs of environmental and economic. Aggregates from the destruction of buildings to develop areas can be reused as concrete. The objective of this study is to compare the compressive strength of recycled aggregate concrete with natural aggregate by using recycled coarse aggregates Class M to substitute natural aggregate at the same mixing proportion. The mix proportions for this study are Mix Proportion A (1: 2: 4) and Mix Proportion B (1: 1.5: 3) by volume. The natural aggregates and recycle coarse aggregates were used in mix proportion. The concrete samples were prepared according to BS 1881-108: 1983 and curing in water for age of 3, 7, 14 and 28 days before testing the compressive strength. The results showed that the strength of concrete from the Class M recycled aggregates had the approximate strength of concrete from natural aggregate at the beginning of curing age. Its strength develops slowly after 7 days curing and has the strength lower than concrete from natural aggregates at the age of 28 days about 10 percent. From the results, we can conclude that recycled aggregate Class M can be used as coarse aggregate for concrete by provide its strength about 10 percent more expected as natural concrete.

 

 


Keyword

concrete reused, concrete strength, recycled aggregate, recycled concrete

บทคัดย่อ

          มวลรวม มีปริมาตร 70-80% ของปริมาณของส่วนผสมทั้งหมดของคอนกรีต มวลรวมถูกขนส่งมายังโรงงานผลิตคอนกรีต สร้างค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ มวลรวมจากการทุบทำลายอาคารเพื่อพัฒนาพื้นที่ซึ่งกำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน สามารถนำกลับมาใช้ใหม่เป็นคอนกรีตได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบกำลังรับแรงอัดของ Recycled aggregate คอนกรีต กับ หินธรรมชาติ โดย ใช้มวลรวมหยาบรีไซเคิล Class M ทดแทนที่หินธรรมชาติในอัตราส่วนผสมเดียวกัน โดยเตรียมตัวอย่างคอนกรีต 2 ส่วนผสม Mix Proportion A คือ 1 : 2 : 4 และ Mix Proportion B คือ 1 : 1.5 : 3 ในแต่ละส่วนผสม ใช้มวลรวม 2 ชุด คือ มวลรวมธรรมชาติ และมวลรวมหยาบรีไซเคิลเตรียมตัวอย่างตามมาตรฐาน BS 1881-108:1983 บ่มในน้ำที่อายุ 3 7 14 และ 28 วัน แล้วทดสอบกำลังอัด ผลการศึกษาพบว่า กำลังของคอนกรีตที่ทดแทนมวลรวมหยาบธรรมชาติโดยมวลรวมหยาบรีไซเคิล Class M  มีค่ากำลังใกล้เคียงคอนกรีตจากมวลธรรมชาติเมื่ออายุบ่มน้อย จากนั้นการพัฒนากำลังจะเกิดช้ากว่าเมื่ออายุการบ่มมากขึ้น และมีค่ากำลังน้อยกว่าคอนกรีตจากมวลรวมธรรมชาติในระยะยาว ที่อายุ 28 วัน กำลังอัดของคอนกรีตจากมวลรวมรีไซเคิล มีค่าต่ำกว่าของคอนกรีตจากมวลธรรมชาติ ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น เมื่อจะนำมวลรวมหยาบรีไซเคิล ไปใช้งานกับคอนกรีตจากมวลรวมรีไซเคิล ควรเผื่อกำลังไว้อีกประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์

 

 

         

 

 


คำสำคัญ

คอนกรีตนำกลับมาใช้ใหม่ กำลังคอนกรีต มวลรวมรีไซเคิล คอนกรีตรีไซเคิล