• ชุมพล มากทอง
    : อาจารย์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ภูมิพัฒน์ ศิริพลานนท์
    : เจ้าหน้าที่วิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
FULL TEXT

Abstract

The purpose of this research was to study the effects of coating agents for Lotus Flowers (Nelumbo
nucifera Gaertn.) to extend the shelf life of postharvest quality. This research was set into two parts. The first
part studied how to select the suitable coating agents. The second part studied the duration of coating agents
on Lotus Flowers during postharvest.
The result showed that, spraying with coating agents Gustec-S at days 1, 5 and 9 preharvest had
ethylene production the lowest of all the different treatments, (36.9 μl.kg-1.hr-1 compared with 71.9 μl.kg-1.hr-1
in the control). The average postharvest life of flowers in the best treatment was 4.9 days compared with 3.2
days in the control. Spraying with coating agents Gustec-S at days 1,and 5 led to the longest on postharvest
(in vaselive ). The result showed that ethylene production had the lowest of all the different treatments, (24.8 μl.kg-1.hr-1 compared with 45.4 μl.kg-1.hr-1 in the control). The postharvest average life of flowers in the
optimized treatment was 4.9 days compared with 4.7 days in the control.


Keyword

lotus, coating agents, postharvest, ethylene

บทคัดย่อ

จากการศึกษาผลการใช้สารเคลือบผิวต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของดอกบัวหลวงพันธุ์สัตตบงกช
(Nelumbo nucifera Gaertn.) โดยแบ่งออกเป็น 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 การทดลองหาชนิดของสารเคลือบผิว
และหาระยะเวลาการฉีดพ่นสารเคลือบผิวที่เหมาะสมก่อนทำการเก็บเกี่ยว และนำผลการทดลองที่ดีที่สุด จากการ
ทดลองที่ 1 มาศึกษาต่อในระหว่างการปักแจกันของการทดลองที่ 2 คือ การทดลองหาระยะเวลาการฉีดพ่นที่เหมาะสม
หลังการเก็บเกี่ยว
ผลการศึกษาพบว่าการฉีดพ่น Gustec-S วันที่ 1, 5 และ 9 ก่อนการเก็บเกี่ยวทำให้ดอกบัวผลิตเอธิลีนน้อย
ที่สุดเฉลี่ย 36.9 μl.kg-1.hr-1 และอายุการปักแจกันดีที่สุดเฉลี่ย 4.9 วัน ในขณะที่วิธีการควบคุมผลิตเอธิลีนเฉลี่ยถึง
71.9 μl.kg-1.hr-1 และอายุการปักแจกันเฉลี่ย 3.2 วัน และเมื่อทำการฉีดพ่นสารเคลือบผิว Gustec-S (วันที่ 1 และ 5
ระหว่างปักแจกัน) มีปริมาณความเข้มข้นของปริมาณเอธิลีนน้อยที่สุดเฉลี่ย 24.8 μl.kg-1.hr-1 ส่งผลให้อายุการปัก
แจกันดีที่สุดเฉลี่ย 4.9 วัน ในขณะที่วิธีการควบคุมผลิตเอธิลีนเฉลี่ยถึง 45.4 μl.kg-1.hr-1 และอายุการปักแจกันเฉลี่ย
4.7 วัน


คำสำคัญ

บัวหลวง สารเคลือบผิว หลังการเก็บเกี่ยว เอธิลีน